วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การดื่มไวน์แดงอาจช่วยชะลอความแก่
นอกจากงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องไวน์แดงกับอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นพิษร้ายแรง อย่างเช่น เชื้ออีโคไลน์ และ เชื้อลิสเตอเรีย ศาสตราจารย์แอซลิน มุสตาฟา ของมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ บอกว่า งานวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าไวน์แดงไม่ได้มีอันตรายต่อเชื้อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในท้องมนุษย์ แต่จะช่วยป้องกันเชื้อที่เป็นอันตรายเท่านั้นศาสตราจารย์แอซลิน มัสตาฟา บอกว่า ไวน์แดงสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ และยังหยุดยั้งการ เจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อีกด้วย และก็คือไวน์แดง 3 ชนิด ที่คุ้นเคยกันดี คือ การ์เบอร์เน่ เมโล และ พีโน นัว


นอกจากนี้ เธอยังบอกว่า ต้นองุ่น หรือเปลือกของผลองุ่นจะผลิตสารเคมีชนิดนี้ขึ้นเองตามธรรมชาติ เพื่อช่วยป้องกันโรคให้กับตัวเอง และสารเคมีนี้ ยังพบได้ในไวน์แดง ซึ่งอาจจะ ช่วยป้องกันเชื้อโรคให้ร่างกายมนุษย์ได้ด้วย แต่งานวิจัยบางชิ้นก็แย้งในเรื่องประโยชน์ของการดื่มไวน์เหมือนกัน แต่ศาสตราจารย์แอซลิน มัสตาฟาก็โต้ว่า แม้จะเป็นไวน์แดงที่เจือจาง ก็ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อยู่ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ท่านนี้ ยังบอกอีกว่า กุญแจสำคัญคือ สำหรับผู้หญิงให้ดื่มไวน์แดง แบบพอประมาณ สักหนึ่งแก้วต่อวัน ด้วยแก้วขนาดประมาณ 120 มิลลิลิตร และสำหรับผู้ชายก็ 2 แก้วต่อวัน (ถ้าแก้วกรึบ ประมาณ 30 มิลลิลิตร) ถ้า 120 มิลลิลิตรก็เล็กกว่าแก้วไวน์ข้างล่างนี้หน่อย แค่นี้ก็รู้สึกว่ามึนแล้ว (อย่าลืมต่อวันนะ ไม่ใช่ต่อครั้งนะ บางราย 5 ลิตร 2 คน ครั้งเดียวหมดเลย เดินเป๋ที่เดียว ขนาดแอลกอล์ฮอล์แค่ 8-9 ดีกรี แต่มันขึ้นทีหลัง ล้มทีเดียวครับ)
แต่ก็ไม่ใช่ว่าไวน์ทุกอย่างจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ เพราะสำหรับไวน์ขาวนั้น นักวิจัยบอกว่าไม่สามารถฆ่า หรือยับยั้งเชื้อโรคได้เหมือนไวน์แดง นักวิจัยสเปนแนะการดื่มไวน์แดงอาจช่วยชะลอความแก่ หลังพบสารเมลาโทนินในผิวองุ่น รวมถึงอาหารอีกหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ ข้าวและเชอร์รี่ สามารถปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงแนะนำผู้ที่ต้องการต่อสู้กับการทำร้ายของกาลเวลา ด้วยการเพิ่มสารเมลาโทนินโดยการกินอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ กล้วย ข้าว เชอร์รี่ รวมถึงดื่มไวน์แดงมากขึ้น ตั้งแต่อายุย่างเข้า 30 ปีเมลาโทนินเป็นสารธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญต่อนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย และเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเจ็ตแล็ก หรืออาการอ่อนเพลียจากการเดินทางเป็นเวลานานๆ เนื่องจากร่างกายยังปรับสภาพกับเวลาไม่ได้


นอกจากมีผลต่อนาฬิกาชีวภาพแล้ว งานวิจัยล่าสุดยังพบว่า เมลาโทนินทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการทำลายเซลล์ทั้งนี้ นักวิจัยจากเครือข่ายวิจัยภาวะสูงวัยของสเปนศึกษาจากหนูที่ถูกตัดต่อทางพันธุกรรมและมีปัญหาแก่ก่อนวัย และพบว่าภาวะชราเริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อหนูอายุ 5 เดือน หรือ 30 ปีสำหรับมนุษย์ โดยเกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนและไนโตรเจนที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและทำลายเซลล์มากขึ้นจากนั้น นักวิจัยให้หนูทดลองกินเมลาโทนิน ผลปรากฏว่าสารชนิดนี้สามารถยับยั้งกระบวนการชราได้
การวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ดาริโอ อะกวินา กาสโตรไวโฆ จากมหาวิทยาลัยเกรนาดา สเปน ยังพบว่าการให้หนูกินเมลาโทนินทุกวันตั้งแต่อายุ 5 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายของหนูเลิกผลิตสารชนิดนี้แล้วนั้น ช่วยชะลอความแก่ได้ บ่งชี้ว่า หากคนเรากินเมลาโทนินทุกวันตั้งแต่อายุ 30 หรือ 40 ปี อาจชะลอกระบวนการชราได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี นักวิจัยยอมรับว่า ยังไม่แน่ใจว่าเมลาโทนินจะส่งผลอย่างไรต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เพราะมีความเป็นไปได้ว่าสารชนิดนี้อาจมีอิทธิพลต่อระบบการเจริญพันธุ์ของสตรี โดยผลวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่า เมลาโทนินในระดับที่ผกผันตามฤดูกาล มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการผสมเทียมในหลอดแก้ว


กระนั้น ศาสตราจารย์อะกวินา กาสโตรไวโฆแนะนำไว้ในรายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารหลายฉบับ รวมถึงฟรอนเทียร อิน ไบโอไซนส์ แอนด์ ฟรี เรดิคัล รีเสิร์ช ว่าควรบริโภคเมลาโทนินเพิ่ม ด้วยการกินไวน์แดง ผลไม้ ผัก และซีเรียล เพื่อป้องกันโรคภัยที่มาพร้อมวัยที่ล่วงเลยอนึ่ง เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า ไวน์แดงมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานัปการ เช่น งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ที่ระบุว่า การดื่มไวน์แดงวันละแก้วช่วยปกป้องหัวใจ เนื่องจากในผิวและเมล็ดขององุ่นอุดมด้วยสารฟลาโวนอยด์


นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ไวน์แดงช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด รวมถึงปกป้องโรคเหงือก และช่วยให้หลับง่ายขึ้นหลายคนอาจมองว่าไวน์มีราคาแพงมาก ขอบอกว่าไม่จริง ถ้าจะเอาประโยชน์โดยไม่ติดที่ค่านิยม หรือรสชาดมากเกินไป หาง่ายในท้องถิ่นเฉลี่ยลิตรละ 200 บาท ห้างค้านอกที่มาเปิดบ้านเรา มีหลายยี่ห้อเลือกได้เลย ถูกกว่าเหล้าเป็นไหน ๆ มีประโยชน์มากกว่า ทานเป็นยาอายุวัฒนะก็ยังได้




*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น