วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

STARBUCKS


ประวัติสตาร์บัคส์โดยสังเขป
สตาร์บัคส์ได้รับการยอมรับเสมอมาในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจกาแฟ ถ้าย้อนไปในปี 1971 ลูกค้าต้องเดินทางไกลไปถึงตลาดไพค์ เพลส (Pike Place Market) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นร้านสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ร้านแรกของเรา
                                                      
      ช่วงทศวรรษที่ 70 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2514
ร้านกาแฟสตาร์บัคส์แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้น โดยตั้งชื่อร้านจากตัวละครในเรื่อง Moby Dick นวนิยายคลาสสิกสมัยศตวรรษที่ 19 ของอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาวาฬ นวนิยายดังกล่าวประพันธ์โดย Herman Melvilles สตาร์บัคส์เชื่อว่า การนำชื่อสิ่งที่อยู่ไกลโพ้นทะเลมาตั้งเป็นชื่อร้านนั้นมีความเหมาะสม เพราะเปรียบเสมือนการเสาะแสวงหาเมล็ดกาแฟที่ดีที่สุดในโลกมาให้ผู้คนในเมืองซีแอตเติลได้ลิ้มลอง      
                                                       
   ช่วงทศวรรษที่ 80 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2524
มร. โฮวาร์ด ชูลท์ส ร่วมงานกับสตาร์บัคส์ในปี พ.ศ. 2525 หรือค.ศ. 1982 ในระหว่างที่เขาเดินทางไปเจรจาธุรกิจที่ประเทศอิตาลีเขารู้สึกประทับใจกับร้านเอสเพรสโซ่ที่มีชื่อเสียงในเมืองมิลานที่เขาแวะไปเยี่ยมชม ทั้งในรูปแบบและความเป็นที่นิยมของร้าน ร้านดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากที่จะสร้างร้านแบบนี้ในเมืองซีแอตเติล และก็เป็นไปอย่างที่เขาคาดการณ์ไว้ หลังจากความพยายามในการทดลองสูตรทั้งกาแฟ ลาเต้ และเอสเพรสโซ่ เพียงไม่นานเมืองซีแอตเติลก็กลายเป็นเมืองแห่งกาแฟไปอย่างรวดเร็ว       
         
                                                                                                                                                           
       ช่วงทศวรรษที่ 90 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2534
สตาร์บัคส์เริ่มขยายธุรกิจจากเมืองซีแอตเติล ไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก สตาร์บัคส์เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่มีการปันหุ้นให้กับพนักงานรายชั่วโมง และในเวลาเพียงไม่นาน บริษัท สตาร์บัคส์ ก็เป็นบริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
                                                
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
ปรากฎการณ์ความนิยมสตาร์บัคส์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน สตาร์บัคส์มีร้านกาแฟกว่า 6,000 แห่งใน 30 ประเทศทั่วโลก นอกจากกาแฟเอสเพรสโซ่ รสชาติเยี่ยมแล้ว ลูกค้ายังสามารถเพลิดเพลินกับ ชาทาโซ่ และแฟรบปูชิโน่เครื่องดื่มปั่นสูตรพิเศษจากสตาร์บัคส์ได้อีกด้วย

  
กว่าจะเป็น ร้านสไตล์ Starbucks

ร้านกาแฟ Starbucks ขึ้นชื่อเรื่องดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ มีกลิ่นไอ บรรยากาศที่ถ้าใครได้สัมผัสต้องติดใจ  สำหรับ Starbucks ร้านกาแฟไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็นสถานที่ถ่ายทอดประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ในการดื่มกาแฟ  ร้านกาแฟยังเป็นหนึ่งในอาวุธลับที่ Starbucks ใช้ในการสร้างแบรนด์จนใครใครต่างยอมรับและถือเป็นเยี่ยงอย่าง  ด้วยเหตุนี้เราจึงมาย้อนดูวิธีคิดและการสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดร้านกาแฟแบบ Starbucks ขึ้นมา
กว่าจะได้ร้านกาแฟอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ทีมงานสร้างสรรค์ต้องทำงานกันอย่างหนัก ในตอนนั้น Starbucks ดึงครีเอทีฟระดับผู้บริหารจากวอลต์ดิสนีย์ เขาคนนั้นคือ Wright Massey ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งรองประธานบริษัทเพื่อรับหน้าที่ออกแบบร้าน Starbucks โดยเฉพาะ  นอกจาก Massey แล้วยังมีทีมงานคนอื่นๆ อีกหลายคน ได้แก่ นักออกแบบตกแต่งภายใน  นักเขียน   หัวหน้าฝ่ายศิลป์  นักออกแบบกราฟิก  และนักออกแบบภายใน ทั้งหมดนี้ได้รับมอบหมายให้ทำงานสำคัญที่สุดของบริษัทในขณะนั้น
                                                              
   
Wright Massey
Wright Massey, founder of Brand Architecture, has been building brands for over 30 years. As the Director of Design for The Disney Stores, Wright was responsible for managing the store roll out program in the US, Canada and Mexico. He was also responsible for the design of the prototype stores. As the VP of Development and VP of Creative Services for Starbucks Coffee Company, Wright hired and managed a team of 175 people.
He is credited for creating the Synergistic Rollout Program to build one store per day (from 200 per year to 350), which saved Starbucks $20M a year. He is also credited for creating the Creative Service Group with the design of Starbucks' brand identity and the image for the store design that launched a national and international brand.
After completing Starbucks in 1999, Wright realized that a business opportunity existed in offering the same services he learned while doing Starbucks and The Disney Store. Wright is a licensed, NCARB certified architect with more than 15 years as a lead designer for many of the world's foremost architectural firms. He has designed over thirty resorts worldwide for most of the major corporations in the hospitality industry.
Brand Architecture's full branding effort of Outback Steakhouse is beginning to rollout nationwide
ความท้าทาย

ความยากของงานนี้คือ ทีมงานต้องคิดถึงการส่งเสริมเแบรนด์ไปพร้อมกับๆ หาทางลดต้นทุนของร้าน  ต้องศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติของผู้คนจนทะลุปรุโปร่ง  ต้องเก็บทุกรายละเอียดแต่ต้องทำงานให้เสร็จอย่างรวดเร็ว  ต้องทำให้ร้านนี้ดึงดูดลูกค้าขณะเดียวกันก็ต้องสะดวกแก่การใช้สอยของพนักงาน ที่สำคัญต้องถูกหลัก ergonomic  ร้านที่ออกแบบมานี้ต้องดูดีแม้จะไปอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม และต้องสร้างเสร็จได้ภายในไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
แนวคิดเบื้องต้น
ทีมงานเริ่มงานออกแบบร้านโดยสำรวจความคิดในประเด็นดังต่อไปนี้
1.พวกเขาเจาะลึกถึงแบรนด์อย่างละเอียดและหาทางถ่ายทอดถึงศาสตร์และศิลป์ในการดื่มกาแฟออกมาพร้อมๆ กับทำให้ Starbucks มีกลิ่นไอของร้านกาแฟที่สืบทอดธรรมเนียมการดื่มกาแฟมากว่าครึ่งศตวรรษ
2. ศึกษากลยุทธ์ทุกอย่างจากร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแม็คโดนัลด์หรือทาโคเบลล์ เช่น การจัดร้านและระบบการทำงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และถูกหลัก ergonomic เนื่องจากแม้ Starbucks จะต้องการให้ร้านดูสร้างสรรค์แตกต่าง แต่ก็ต้องคำนึงถึงการใช้งานที่พนักงานต้องทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพด้วย
3. สร้างองค์ประกอบของดีไซน์ที่เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์ร้านได้ในทุกพื้นที่ของโลก ทีมงานต้องการให้มีองค์ประกอบในการออกแบบร้านที่หลากหลายและเปิดกว้างเพื่อให้สามารถประยุกต์ไปตามลักษณะเฉพาะตัวพื้นที่ที่เปิดร้าน เช่น ร้านขนาดใหญ่ในนิวยอร์ค หรือซุ้มเล็กๆ ในห้างสรรพสินค้าของโตเกียว ขณะเดียวกันร้านเหล่านี้ก็ต้องคงเอกลักษณ์ของ Starbucks ไว้ด้วย
4.เนื่องจากในอดีต Starbucks เคยประสบปัญหาการก่อสร้างร้านกาแฟที่บานปลายจนเกือบก่อความเสียหายทางการเงินครั้งใหญ่ ดังนั้นครั้งนี้ทีมงานจึงต้องหาทางลดต้นทุนในการสร้างร้านลงอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ ด้วย


  ตำนานของร้านสื่อออกมาในรูปของโลโก้ ที่ทำเป็นรูปของนางพรายน้ำหรือ Siren เนื่องจากชื่อ Starbucks ได้มาจากชื่อกัปตันตัวเอกในเรื่องล่าปลาวาฬ จึงเป็นการดีที่จะใช้นางไซเรนเป็นโลโก้เพราะตามตำนานเล่าว่านางมักร้องเพลงล่อหลอกชาวเรือให้หลงใหลอยู่เสมอ หลังจากทำงานอยู่หลายวัน ก็ได้นางไซเรนให้เลือกถึง 6 แบบ รวมทั้ง แบบที่เรียกตลกๆ ว่า “Bad Hair Day Siren” ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

Starbucks
Starbucks unveils new company logo                                  

การเปลี่ยนโลโก้ใหม่ โดยตัดคำว่า "Starbuck Coffee" ออกจากถ้วยกาแฟ

สตาร์บัคส์เครือข่ายร้านกาแฟชั้นนำของโลก ประกาศเปลี่ยนโลโก้บริษัทใหม่ ด้วยการตัดคำว่า "Starbuck Coffee" ที่เป็นวงกลมล้อมรอบภาพสัตว์ทะเลครึ่งคนในเทพนิยายชื่อ "ไซเรน" ออกจากถ้วยกาแฟ หลังจากใช้มา 9 ปี พร้อมเปลี่ยนสีไซเรน จากดำขาว เป็นขาวเขียว โดยไม่มีการเอ่ยถึงชื่อกาแฟ หรือบริษัทบนถ้วยกาแฟรีไซเคิล สะท้อนถึงการแสวงหาตลาดใหม่ๆ
                                
                                
- เป็นการสร้างแบรนด์เพื่อความโดดเด่น และเป็นการจดจำของตลาดโดยไม่ต้องอาศัยชื่อของแบรนด์  ซึ่งเป็น  การสร้างวิวัฒนาการให้ก้าวล้ำ เช่นเดียว กับแบรนด์อื่นๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล
- การแข่งขันที่เปิดกว้างขึ้นในตลาดระหว่างระหว่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การขยายสาขา หรือ ธุรกิจที่หลากหลาย
- การสร้างและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายสมัยใหม่ โดยใช้สื่อที่ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และจดจำ
- ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่กาแฟ

Starbucks กับโครงการร้านกาแฟ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากวัสดุรีไซเคิล

ที่ทางตอนใต้ ของ Seattle สหรัฐอเมริกา Starbucks ได้มีแนวคิดในการสร้างร้านกาแฟ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีจุดประสงค์ในการช่วยลดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโดย วัสดุที่ทาง Starbucks นำมาใช้ ก็คือ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งสินค้าที่ ไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยจะนำมาประกอบกันออกมาเป็นรูปแบบของร้านกาแฟแบบ drive thru แบบนั่งดื่มทีร้านหรือ take home เพื่อสร้างความสะดวกให้กับลูกค้า โดยจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ก็จะมีทั้งสิ้น 5 ตู้ด้วยกัน คือ
- ตู้คอมเทนเนอร์แบบยาว 4 ตู้
- ตู้คอนเทนเนอร์แบบสั้น 1 ตู้

จากนั้นก็นำมาประกอบกันจนได้ออกมาเป็นร้านกาแฟจากวัสดุ รีไซเคิล ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 450 ตารางฟุต พร้อมทั้งการตกแต่งให้มีสีเขียวกลมกลืมกับสภาพแวดล้อมตามแบบฉบับของ Starbucks ซึ่งมีแผนที่จะสร้างร้านกาแฟอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี่กว่า 17,000 ร้านทั่วโลกเลยทีเดียว

Starbucks Shipping Container Building Drive Thru Store


Starbucks Shipping Container Building Drive Thru Store

Starbucks Shipping Container Building Drive Thru Store



Starbucks Shipping Container Building Drive Thru Store

Starbucks Shipping Container Building Drive Thru Store




บรรยากาศภายใน

นับเป็นอีกหนึ่งความแตกต่างที่ทำให้ Starbucks ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาเป็นเวลายาวนาน...

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

“งานระบบปรับอากาศในอาคาร”

“งานระบบปรับอากาศในอาคาร”


“ จะติดแอร์ตรงไหนดี ?” คำถามที่มาเกือบหลังสุดของการออกแบบห้อง บ้าน อาคารสถานที่ เรามักคิดเรื่องบรรยายกาศของสถานที่มาก่อนเสมอ ทั้งที่จริงแล้วการคิดเรื่องบรรยายกาศ กับเรื่องการระบายอากาศควรจะมาด้วยกันตั้งแต่ต้น คงต้องยอมรับว่าสภาพบ้านเราในปัจจุบัน การระบายอากาศเพื่อความสะดวกสบายคงต้องยกให้เครื่องปรับอากาศ หรือที่เรียกกันว่า “แอร์” ต่อให้บริเวณรอบข้างไม่มีอะไรมาบังทิศทางลม หรือหลีกเลี่ยงช่วงแดดจัดในพื้นที่ที่ใช้งานเป็นประจำ ก็คงต้องขอมีแอร์สักตัวเอาไว้เพื่อความสบายใจ ในเวลาที่ต้องการความเย็นสบาย




ประเด็นมันมีอยู่ว่า เจ้าแอร์เครื่องเล็ก เครื่องใหญ่ มันจะไปอยู่ตรงไหน ที่จะทำให้ไม่รู้สึกว่ามันเป็นส่วนเกิน หรือตัวอะไรมาเกาะอยู่ข้างฝา ที่สำคัญตำแหน่งที่ติดตั้งแอร์ ต้องสามารถทำงานได้เต็มที่ นั้นคือเย็นสบายไม่กินไฟ จะให้ไปอยู่ในฝ้าเห็นแต่ ช่องลม แขวนข้างผนัง ใต้เพดานโชว์เครื่องเปลือยแบบ “LOFT” ก็คงไม่พ้นแบบ “SPILT TYPE” ที่ต้องมีพื้นที่ให้ “FCU” และ “CDU” ถ้าต้องการแบบเคลื่อนย้ายได้ ซึ่ง “FCU” และ“CDU”จะอยู่ด้วยกัน แต่ต้องแลกกับราคาที่แพงตามมา ที่กล่าวมาเป็นพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถที่จะควบคุมได้ง่าย เพียงแค่ใส่ใจในรายละเอียดของการออกแบบ


กรณีของอาคารขนาดใหญ่ การให้ความเย็นต้องใช้พลังงานอย่างมาก แหล่งกำเนิดความเย็น หรือที่เรียกว่า “CHILLER” จะส่งผ่านไปยังห้องควบคุม “AHU” เพื่อกระจายความเย็นไปยังจุดต่างๆในอาคาร ขนาดของท่อส่งลมเย็นกับการวางตำแหน่ง มักเป็นปัญหาที่ทำให้ฝ้าตํ่าได้ เพราะขนาดของคานกับท่อส่งที่ใหญ่ พื้นที่ ที่มีอย่างจำกัดควรมีการ”COMBINE” ระหว่าง ระบบปรับอากาศกับโครงสร้าง
ถ้าการออกแบบสามารถควบคุม ได้ทั้งบรรยายกาศและความสะดวกสบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์เหล่านี้จะตก แก่เจ้าของและผู้ใช้อาคารสถานที่ เพราะหน้ากากแอร์หลากสีเป็นเพียงการหลีกหนีความจำเจที่ผู้ผลิตนำเสนอ

*** CDU = Condensing Unit / FCU = Fan Coil Unit / BTU = British thermal Unit / 12,000 BTU = 1ตันความเย็น [เหมาะกับห้อง 12-16 ตรม.] หมายความว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อน ออกจากห้องปรับอากาศ 12000 BTU ภายในเวลา 1 ชั่วโมง


บทความจากแผนกออกแบบ



วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555



การสัมมนา FuturArc FORUM2011 +Green Market Place Exhibition

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังลุ้นว่ากรุงเทพฯจะน้ำท่วมไหม ผมได้มีโอกาสหยุดความกัลวลและวุ่นวายในงานประจำวัน เพื่อไปร่วมฟังสัมมนา Green Building ที่จัดโดยนิตรสาร FuturArc ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ด ถ.รัชดา เป็นงานสัมมนาที่จัดขึ้นทั้งวันตั้งแต่เช้าจรด5โมงครึ่ง เล่นเอาผมอยู่โรงแรมทั้งวันเลยครับ นั้นก็เพราะว่างานสัมมนานี้น่าสนใจมาก มีวิทยากรหลายท่านจากทั้งจากส่วนราชการ สถาปนิก และผู้ชำนาญทางเทคนิคจากซัพพลายเออร์งานระบบ มาร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์จากโครงการต่างๆ และทิศทางของ green architecture ในอนาคต

Green Architecture หรือ อาคารสีเขียว คืออะไร แตกต่างจากอาคารประหยัดพลังงานอย่างไรอันที่จริงแล้วเป็นคนละคอนเซ็ปกันครับ อาคารสีเขียวนั้นมีความหมายถึง อาคารที่ถูกออกแบบโดยให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกสร้างขึ้น ถูกใช้สอย และการดำรงอยู่ ต่อโลก ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวคล้อม เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้เพียงแค่ประหยัดพลังงาน แต่อาคารเขียวยังต้องคำนึงถึงบทบาทของตัวอาคารเองในด้านอื่นๆด้วย โอ้โห ทำไมมันกว้างจังเนี่ย เหตุผลที่อาคารเขียวเป็นที่พูดถึงกันมากเนื่องจากว่าสถาปัตยกรรมต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อโลกเรานี้มากเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น ความสิ้นเปลืองทรัพยากรและมลพิษที่เกิดจากการก่อสร้างขยะและน้ำเสียจากการพฤติกรรมการใช้สอยในอาคาร การบริโภคพลังงานอย่างมหาศาล หรือ การมีอยู่ของอาคารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมก็ตาม

ที่มาของอาคารสีเขียวก็คือ แนวความคิดของความสมดุลเพื่อความยั่งยืน กล่าวคือ ในการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ตามธรรมชาตินั้นมีปัจจัยในการดำเนินชีวิตที่เราต้องคำนึงถึงอยู่สามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวคล้อม แต่ในอดีตนั้น เราไม่เคยให้ความสมดุลกับองค์ประกอบทั้งสามด้าน แต่กลับมุ่งเน้นที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความสุชสบายของมนุษย์ทางวัตถุมากเกินไป จนเป็นสังคมบริโภคนิยม จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อสภาพแวคล้อมของโลกอย่างใหญ่หลวง

ในอดีต การให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ และสังคมโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวคล้อม ทำให้โลกขาดสมดุล

ความสมดุลของทั้งสามองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ภาครัฐ(รัฐบาลเจ๊ปูนี้แหละครับ) มีนโยบายที่จะพยายามลดการใช้พลังงานภายในประเทศลง จากอัตราการใช้พลังงานเดิม ให้ได้25%ภายใน 20ปีข้างหน้า (แต่ดันสนันสนุนให้มีรถคันแรก บ้านหลังแรก แทนที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และส่งเสริมความสุขที่แท้จริงด้วยความพอเพียง งง!)ซึ่งการส่งเสริมหลักการอาคารสีเขียวก็คงเป็นหนึ่งในนโยบายการลดการใช้พลังงานนั้นด้วย เนื่องจากว่าปัจจุบัน อัตราการใช้พลังงานในภาคครัวเรือนและธุรกิจ ในส่วนที่เป็นการใช้พลังงานภายในอาคารนั้นเป็นสัดส่วนที่สูงมาก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้านั้น ภาคครัวเรือนและธุรกิจรวมกันมีอัตราการใช้พลังงานถึงกว่า40%ของอัตราการใช้พลังงานทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมเพียงเล็กน้อย ส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสาธารณะ อาคารสำนักงานหรือห้างสรรพสินค้า พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่กว่า 50-60% ของอาคารถูกใช้ไปกับระบบปรับอากาศหรือ A/C นั้นเอง!

ความต้องการไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า (กฟผ.)เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544

http://www.eppo.go.th/load/load-forecast/pw-fc-01.gif

กราฟนี้แสดงให้เห็นถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนไทยตลอดทั้งวันโดยเริ่มจากเที่ยงคืน ซึ่งค่อนข้างต่ำ และจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณ7โมงเช้าไปตลอดทั้งวัน โดยลดต่ำลงเล็กน้อยในตอนเที่ยงวัน และจนมาลดต่ำลงอีกครั้งในเวลา 18นาฬิกาสอดคล้องกับพฤติกรรม(การใช้พลังงานในอาคาร)การทำงาน คือมีพักเที่ยงและเลิกงานตอนเย็น และกลับขึ้นไปสูงขึ้นอีกตอนหนึ่งทุ่ม จากที่คนเดินทางออกจากที่ทำงานกลับไปใช้ไฟฟ้าที่บ้าน หรือไปรับประทานมือค่ำนอกบ้านก็ตาม และการใช้ไฟฟ้าจึงจะค่อยๆลดลงจนเช้าถึงเที่ยงคืนดังนั้นเมื่อเราเข้าใจกระบวนการบริโภคพลังงานของอาคาร ก็จะสามารถลดอัตราการบริโภคลงได้(มั๊ง)

ในต่างประเทศนั้น แนวคิดอาคารสีเขียวได้เติบโต และถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่าทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสหภาพยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น หรือแม้แต่สิงค์โปร ซึ่งแต่ละประเทศดังกล่าวก็ได้มีมาตราฐานของอาคารเขียวของตนเอง สำหรับประเทศไทย ซึ่งแนวความคิดนี้เพิ่มจะเริ่มแพร่หลายในช่วงไม่เกิน10ปีที่ผ่านนั้น อาคารเขียวในยุคเริ่มต้นของไทยส่วนใหญ่จึงได้ถือเอามาตราฐาน LEED ของอเมริกาเป็นหลัก แต่หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็ได้เร่งเห็นถึงความไม่เหมาะสมของLEEDต่อการนำมาใช้กับอาคารของเรา เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น การกำหนดมาตราของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งทำให้เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ภูมิความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบในการตัดสินและอนุมัติต่างๆก็ทำให้เราต้องพึงพาเขา และไม่ได้หลักการของอาคารเขียวของอเมริกาเองก็มิได้สอดคล้องกับสถาพสังคมและการใช้ชีวิตของเราคนไทยในทุกๆเรื่องในปี 2552 สมาคมสถาปนิกสยาม และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกันก่อตั้ง ”สถาบันอาคารเขียว” หรือ TGBI (http://www.tgbi.or.th/index.php) ขื้นเพื่อพัฒนาความรู้และจัดทำมาตรฐานอาคารเขียวของไทยขึ้นมาใช้เอง

โดยเมื่อต้นปี2553 ทาง TGBI ก็ได้ออกเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวคล้อมสำหรับอาคารขึ้น โดยเรียกสั้นๆว่า Trees( Thai’s Rating of Energy and Environmentak Sustainability) โดยหลักการแล้ว Trees จะเป็นการประเมินผลอาคารโดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ

1. การบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดเป็นอาคารเขียวรวมถึงการติดตามผล

2. การวางผังอาคาร ผังบริเวณและภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร

3. การบริหารจัดการน้ำ และการประหยัดการใช้น้ำของอาคาร

4. ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ

5. ทรัพยากรที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารการเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม และการจัดการขยะจากการก่อสร้าง

6. คุณภาพของสถาวะแวดล้อมภายในอาคาร

7. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อม ทั้งในการก่อสร้าง และการใช้สอยอาคาร

ดูรายละเอียดครบถ้วนได้ที่ (http://www.tgbi.or.th/files/trees/2010-04-02-TreesRating_0.pdf)

โดยรวมแล้ว TREES ก็ครอบคลุมทุกๆด้านที่อาคารจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อมและทุกมิติเวลาตั้งแต่ที่มาของอาคารการเริ่มต้นก่อสร้าง ตลอดจนการใช้สอยและคงอยู่ของอาคาร เท่าที่ความรู้ความเข้าใจของมนุษย์เราที่จะคิดออกในตอนนี้แล้วนะ (ไม่แน่ ในอนาคตความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น ก็คงจะมีแง่มุมที่เราอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่เป็นประเด็นสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกก็เป็นได้)

อาคารเขียวนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่เราทุกๆคนล้วงแต่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผมไม่ได้หมายถึงแค่สถาปนิก หรือนักออกแบบนะ แต่ทุกๆคนที่ต้องใช้สอยอาคารนั้นมีความสำคัญทั้งนั้น ไม่จำเป็นว่าอาคารที่เราใช้สอยอยู่นี้ต้องอาคารสีเขียวแล้วเราจึงจะมีส่วนได้ หากแต่ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องหลักการอาคารเขียวนี้ เราก็สามารถที่จะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวคล้อมได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้เกิดประโยชน์ เช่น การประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้น้ำ การช่วยกันแยกขยะ การช่วยกันสอดส่องดูแลอาคารให้ไม่เกิดการใช้พลังงานอย่างสูญปล่าว หรือแม้แต่การถอดหลอดไฟมาทำความสะอาดเพื่อให้ได้แสงสว่างเต็มที่ก็ตาม และยังสามารถช่วยกันส่งเสริมให้สังคมเกิดความตระหนักในคุณค่าของการรักษ์โลกอีกด้วย ถ้าเราไม่ช่วยกันแล้วใครหละจะช่วยเราหละครับ

ขอขอบคุณ

BCI Asia construction information Co.Ltd.,

Suite 64 ,6 th Floor,Lumpini 1 Building 239/2 Sarasin Road,Lumpini Pathumwan,Bangkok 10330,Thailand Tel:(+662) 651 8600; Fax: (+662) 651-8606

ที่ได้สนับสนุนให้เกิดการสัมมนาดีๆครั้งนี้

และขอบคุณ

คุณ วิญญู วานิชศิริโรจน์

Executive Vice President Design 103 International Ltd.

ดร. ณรงค์วิทย์ อารีมิตร

Architect and Energy Specialist Architect 49 Co.,Ltd

คุณ ปิติ ศาสตรวาหา

Managing Director

Design 507 (Thailand) Co.,Ltd

คุณ ศิรินทร วงษ์เสาวศุภ

Director,Energy Efficiency Promotion for People and Business

Bureau of Energy Efficiency Promotion,Department of Alternative Energy Development and Efficiency

ดร.ภัทรนันท์ ทักขนนท์

Deputy Dean Academic Affairs,Facuty of Architecture,Kasetsart University Director , Ecowill Design & Consult

Gregers Reimann

Associate Director & Engineer IEN Consultants, Malaysia

วิทยากรทุกท่าน ที่มาให้ความรู้ที่มีคุณค่า และสนับสนุนให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นในสังคม