วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555



การสัมมนา FuturArc FORUM2011 +Green Market Place Exhibition

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังลุ้นว่ากรุงเทพฯจะน้ำท่วมไหม ผมได้มีโอกาสหยุดความกัลวลและวุ่นวายในงานประจำวัน เพื่อไปร่วมฟังสัมมนา Green Building ที่จัดโดยนิตรสาร FuturArc ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ด ถ.รัชดา เป็นงานสัมมนาที่จัดขึ้นทั้งวันตั้งแต่เช้าจรด5โมงครึ่ง เล่นเอาผมอยู่โรงแรมทั้งวันเลยครับ นั้นก็เพราะว่างานสัมมนานี้น่าสนใจมาก มีวิทยากรหลายท่านจากทั้งจากส่วนราชการ สถาปนิก และผู้ชำนาญทางเทคนิคจากซัพพลายเออร์งานระบบ มาร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์จากโครงการต่างๆ และทิศทางของ green architecture ในอนาคต

Green Architecture หรือ อาคารสีเขียว คืออะไร แตกต่างจากอาคารประหยัดพลังงานอย่างไรอันที่จริงแล้วเป็นคนละคอนเซ็ปกันครับ อาคารสีเขียวนั้นมีความหมายถึง อาคารที่ถูกออกแบบโดยให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกสร้างขึ้น ถูกใช้สอย และการดำรงอยู่ ต่อโลก ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวคล้อม เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้เพียงแค่ประหยัดพลังงาน แต่อาคารเขียวยังต้องคำนึงถึงบทบาทของตัวอาคารเองในด้านอื่นๆด้วย โอ้โห ทำไมมันกว้างจังเนี่ย เหตุผลที่อาคารเขียวเป็นที่พูดถึงกันมากเนื่องจากว่าสถาปัตยกรรมต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อโลกเรานี้มากเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น ความสิ้นเปลืองทรัพยากรและมลพิษที่เกิดจากการก่อสร้างขยะและน้ำเสียจากการพฤติกรรมการใช้สอยในอาคาร การบริโภคพลังงานอย่างมหาศาล หรือ การมีอยู่ของอาคารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมก็ตาม

ที่มาของอาคารสีเขียวก็คือ แนวความคิดของความสมดุลเพื่อความยั่งยืน กล่าวคือ ในการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ตามธรรมชาตินั้นมีปัจจัยในการดำเนินชีวิตที่เราต้องคำนึงถึงอยู่สามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวคล้อม แต่ในอดีตนั้น เราไม่เคยให้ความสมดุลกับองค์ประกอบทั้งสามด้าน แต่กลับมุ่งเน้นที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความสุชสบายของมนุษย์ทางวัตถุมากเกินไป จนเป็นสังคมบริโภคนิยม จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อสภาพแวคล้อมของโลกอย่างใหญ่หลวง

ในอดีต การให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ และสังคมโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวคล้อม ทำให้โลกขาดสมดุล

ความสมดุลของทั้งสามองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ภาครัฐ(รัฐบาลเจ๊ปูนี้แหละครับ) มีนโยบายที่จะพยายามลดการใช้พลังงานภายในประเทศลง จากอัตราการใช้พลังงานเดิม ให้ได้25%ภายใน 20ปีข้างหน้า (แต่ดันสนันสนุนให้มีรถคันแรก บ้านหลังแรก แทนที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และส่งเสริมความสุขที่แท้จริงด้วยความพอเพียง งง!)ซึ่งการส่งเสริมหลักการอาคารสีเขียวก็คงเป็นหนึ่งในนโยบายการลดการใช้พลังงานนั้นด้วย เนื่องจากว่าปัจจุบัน อัตราการใช้พลังงานในภาคครัวเรือนและธุรกิจ ในส่วนที่เป็นการใช้พลังงานภายในอาคารนั้นเป็นสัดส่วนที่สูงมาก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้านั้น ภาคครัวเรือนและธุรกิจรวมกันมีอัตราการใช้พลังงานถึงกว่า40%ของอัตราการใช้พลังงานทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมเพียงเล็กน้อย ส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสาธารณะ อาคารสำนักงานหรือห้างสรรพสินค้า พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่กว่า 50-60% ของอาคารถูกใช้ไปกับระบบปรับอากาศหรือ A/C นั้นเอง!

ความต้องการไฟฟ้าของระบบไฟฟ้า (กฟผ.)เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544

http://www.eppo.go.th/load/load-forecast/pw-fc-01.gif

กราฟนี้แสดงให้เห็นถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนไทยตลอดทั้งวันโดยเริ่มจากเที่ยงคืน ซึ่งค่อนข้างต่ำ และจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณ7โมงเช้าไปตลอดทั้งวัน โดยลดต่ำลงเล็กน้อยในตอนเที่ยงวัน และจนมาลดต่ำลงอีกครั้งในเวลา 18นาฬิกาสอดคล้องกับพฤติกรรม(การใช้พลังงานในอาคาร)การทำงาน คือมีพักเที่ยงและเลิกงานตอนเย็น และกลับขึ้นไปสูงขึ้นอีกตอนหนึ่งทุ่ม จากที่คนเดินทางออกจากที่ทำงานกลับไปใช้ไฟฟ้าที่บ้าน หรือไปรับประทานมือค่ำนอกบ้านก็ตาม และการใช้ไฟฟ้าจึงจะค่อยๆลดลงจนเช้าถึงเที่ยงคืนดังนั้นเมื่อเราเข้าใจกระบวนการบริโภคพลังงานของอาคาร ก็จะสามารถลดอัตราการบริโภคลงได้(มั๊ง)

ในต่างประเทศนั้น แนวคิดอาคารสีเขียวได้เติบโต และถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่าทศวรรษแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสหภาพยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น หรือแม้แต่สิงค์โปร ซึ่งแต่ละประเทศดังกล่าวก็ได้มีมาตราฐานของอาคารเขียวของตนเอง สำหรับประเทศไทย ซึ่งแนวความคิดนี้เพิ่มจะเริ่มแพร่หลายในช่วงไม่เกิน10ปีที่ผ่านนั้น อาคารเขียวในยุคเริ่มต้นของไทยส่วนใหญ่จึงได้ถือเอามาตราฐาน LEED ของอเมริกาเป็นหลัก แต่หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก็ได้เร่งเห็นถึงความไม่เหมาะสมของLEEDต่อการนำมาใช้กับอาคารของเรา เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น การกำหนดมาตราของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งทำให้เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ภูมิความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบในการตัดสินและอนุมัติต่างๆก็ทำให้เราต้องพึงพาเขา และไม่ได้หลักการของอาคารเขียวของอเมริกาเองก็มิได้สอดคล้องกับสถาพสังคมและการใช้ชีวิตของเราคนไทยในทุกๆเรื่องในปี 2552 สมาคมสถาปนิกสยาม และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกันก่อตั้ง ”สถาบันอาคารเขียว” หรือ TGBI (http://www.tgbi.or.th/index.php) ขื้นเพื่อพัฒนาความรู้และจัดทำมาตรฐานอาคารเขียวของไทยขึ้นมาใช้เอง

โดยเมื่อต้นปี2553 ทาง TGBI ก็ได้ออกเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวคล้อมสำหรับอาคารขึ้น โดยเรียกสั้นๆว่า Trees( Thai’s Rating of Energy and Environmentak Sustainability) โดยหลักการแล้ว Trees จะเป็นการประเมินผลอาคารโดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 7 ด้าน คือ

1. การบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดเป็นอาคารเขียวรวมถึงการติดตามผล

2. การวางผังอาคาร ผังบริเวณและภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร

3. การบริหารจัดการน้ำ และการประหยัดการใช้น้ำของอาคาร

4. ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ

5. ทรัพยากรที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารการเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม และการจัดการขยะจากการก่อสร้าง

6. คุณภาพของสถาวะแวดล้อมภายในอาคาร

7. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อม ทั้งในการก่อสร้าง และการใช้สอยอาคาร

ดูรายละเอียดครบถ้วนได้ที่ (http://www.tgbi.or.th/files/trees/2010-04-02-TreesRating_0.pdf)

โดยรวมแล้ว TREES ก็ครอบคลุมทุกๆด้านที่อาคารจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อมและทุกมิติเวลาตั้งแต่ที่มาของอาคารการเริ่มต้นก่อสร้าง ตลอดจนการใช้สอยและคงอยู่ของอาคาร เท่าที่ความรู้ความเข้าใจของมนุษย์เราที่จะคิดออกในตอนนี้แล้วนะ (ไม่แน่ ในอนาคตความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น ก็คงจะมีแง่มุมที่เราอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่เป็นประเด็นสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกก็เป็นได้)

อาคารเขียวนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่เราทุกๆคนล้วงแต่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผมไม่ได้หมายถึงแค่สถาปนิก หรือนักออกแบบนะ แต่ทุกๆคนที่ต้องใช้สอยอาคารนั้นมีความสำคัญทั้งนั้น ไม่จำเป็นว่าอาคารที่เราใช้สอยอยู่นี้ต้องอาคารสีเขียวแล้วเราจึงจะมีส่วนได้ หากแต่ถ้าเรามีความรู้ในเรื่องหลักการอาคารเขียวนี้ เราก็สามารถที่จะช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวคล้อมได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้เกิดประโยชน์ เช่น การประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้น้ำ การช่วยกันแยกขยะ การช่วยกันสอดส่องดูแลอาคารให้ไม่เกิดการใช้พลังงานอย่างสูญปล่าว หรือแม้แต่การถอดหลอดไฟมาทำความสะอาดเพื่อให้ได้แสงสว่างเต็มที่ก็ตาม และยังสามารถช่วยกันส่งเสริมให้สังคมเกิดความตระหนักในคุณค่าของการรักษ์โลกอีกด้วย ถ้าเราไม่ช่วยกันแล้วใครหละจะช่วยเราหละครับ

ขอขอบคุณ

BCI Asia construction information Co.Ltd.,

Suite 64 ,6 th Floor,Lumpini 1 Building 239/2 Sarasin Road,Lumpini Pathumwan,Bangkok 10330,Thailand Tel:(+662) 651 8600; Fax: (+662) 651-8606

ที่ได้สนับสนุนให้เกิดการสัมมนาดีๆครั้งนี้

และขอบคุณ

คุณ วิญญู วานิชศิริโรจน์

Executive Vice President Design 103 International Ltd.

ดร. ณรงค์วิทย์ อารีมิตร

Architect and Energy Specialist Architect 49 Co.,Ltd

คุณ ปิติ ศาสตรวาหา

Managing Director

Design 507 (Thailand) Co.,Ltd

คุณ ศิรินทร วงษ์เสาวศุภ

Director,Energy Efficiency Promotion for People and Business

Bureau of Energy Efficiency Promotion,Department of Alternative Energy Development and Efficiency

ดร.ภัทรนันท์ ทักขนนท์

Deputy Dean Academic Affairs,Facuty of Architecture,Kasetsart University Director , Ecowill Design & Consult

Gregers Reimann

Associate Director & Engineer IEN Consultants, Malaysia

วิทยากรทุกท่าน ที่มาให้ความรู้ที่มีคุณค่า และสนับสนุนให้เกิดสิ่งดีๆขึ้นในสังคม