วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

“งานระบบปรับอากาศในอาคาร”

“งานระบบปรับอากาศในอาคาร”


“ จะติดแอร์ตรงไหนดี ?” คำถามที่มาเกือบหลังสุดของการออกแบบห้อง บ้าน อาคารสถานที่ เรามักคิดเรื่องบรรยายกาศของสถานที่มาก่อนเสมอ ทั้งที่จริงแล้วการคิดเรื่องบรรยายกาศ กับเรื่องการระบายอากาศควรจะมาด้วยกันตั้งแต่ต้น คงต้องยอมรับว่าสภาพบ้านเราในปัจจุบัน การระบายอากาศเพื่อความสะดวกสบายคงต้องยกให้เครื่องปรับอากาศ หรือที่เรียกกันว่า “แอร์” ต่อให้บริเวณรอบข้างไม่มีอะไรมาบังทิศทางลม หรือหลีกเลี่ยงช่วงแดดจัดในพื้นที่ที่ใช้งานเป็นประจำ ก็คงต้องขอมีแอร์สักตัวเอาไว้เพื่อความสบายใจ ในเวลาที่ต้องการความเย็นสบาย




ประเด็นมันมีอยู่ว่า เจ้าแอร์เครื่องเล็ก เครื่องใหญ่ มันจะไปอยู่ตรงไหน ที่จะทำให้ไม่รู้สึกว่ามันเป็นส่วนเกิน หรือตัวอะไรมาเกาะอยู่ข้างฝา ที่สำคัญตำแหน่งที่ติดตั้งแอร์ ต้องสามารถทำงานได้เต็มที่ นั้นคือเย็นสบายไม่กินไฟ จะให้ไปอยู่ในฝ้าเห็นแต่ ช่องลม แขวนข้างผนัง ใต้เพดานโชว์เครื่องเปลือยแบบ “LOFT” ก็คงไม่พ้นแบบ “SPILT TYPE” ที่ต้องมีพื้นที่ให้ “FCU” และ “CDU” ถ้าต้องการแบบเคลื่อนย้ายได้ ซึ่ง “FCU” และ“CDU”จะอยู่ด้วยกัน แต่ต้องแลกกับราคาที่แพงตามมา ที่กล่าวมาเป็นพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถที่จะควบคุมได้ง่าย เพียงแค่ใส่ใจในรายละเอียดของการออกแบบ


กรณีของอาคารขนาดใหญ่ การให้ความเย็นต้องใช้พลังงานอย่างมาก แหล่งกำเนิดความเย็น หรือที่เรียกว่า “CHILLER” จะส่งผ่านไปยังห้องควบคุม “AHU” เพื่อกระจายความเย็นไปยังจุดต่างๆในอาคาร ขนาดของท่อส่งลมเย็นกับการวางตำแหน่ง มักเป็นปัญหาที่ทำให้ฝ้าตํ่าได้ เพราะขนาดของคานกับท่อส่งที่ใหญ่ พื้นที่ ที่มีอย่างจำกัดควรมีการ”COMBINE” ระหว่าง ระบบปรับอากาศกับโครงสร้าง
ถ้าการออกแบบสามารถควบคุม ได้ทั้งบรรยายกาศและความสะดวกสบายให้ไปในทิศทางเดียวกัน ประโยชน์เหล่านี้จะตก แก่เจ้าของและผู้ใช้อาคารสถานที่ เพราะหน้ากากแอร์หลากสีเป็นเพียงการหลีกหนีความจำเจที่ผู้ผลิตนำเสนอ

*** CDU = Condensing Unit / FCU = Fan Coil Unit / BTU = British thermal Unit / 12,000 BTU = 1ตันความเย็น [เหมาะกับห้อง 12-16 ตรม.] หมายความว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อน ออกจากห้องปรับอากาศ 12000 BTU ภายในเวลา 1 ชั่วโมง


บทความจากแผนกออกแบบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น