วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระจกกับการตกแต่งภายใน


กระจกกับการตกแต่งภายใน

นึกถึงกระจกก็จะนึกถึงประตูหน้าต่าง และแน่นอนทุกหลังคาเรือนต้องมีกระจกโดยเฉพาะบ้านที่มีstyle ทันสมัย ที่นำกระจกมาใช้เพื่อเพิ่มความหรูหรา ความมีระดับ แต่น้อยคนนักเมื่อเห็นกระจกสามารถบอกได้ว่ากระจกที่เห็นอยู่นั้นว่ามี คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียอย่างไร ดังนั้นครั้งนี้ก็จะเล่าเรื่องกระจกจะได้นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม การเลือกกระจกจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างเช่น นำไปใช้อย่างไรจึงจะเกิดความสวยงาม กระจกแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร ราคา ความแข็งแรงคงทน และจะเป็นประโยชน์อย่างมากหากเรารู้ว่ากระจกที่เราเห็นอยู่นั้นเรียกว่า อย่างไร การนำกระจกเข้าไปใช้กับการตกแต่งภายใน ก่อนอื่นเลยเป็นหน้าที่ของผู้ใช้ว่าจะนำกระจกมาตกแต่งภายในเพื่ออะไร เช่น เพื่อความงาม ช่องเปิด ความโล่ง หรือแม้กันความร้อน กันเสียง ยิ่งเทคโนโลยีสมัยนี้กระจกก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะโค้ง บิด งอ สารพัดรูปแบบ หากจำแนกกระจกตามกระบวนการผลิตเพื่อตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันก็สามารถ แบ่งประเภทของกระจกได้ 5 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้


1. กระจกธรรมดา (Float Glass)
2. กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)
3. กระจกเคลือบผิว หรือกระจกสะท้อนแสง (Surface Coated Glass)
4. กระจกดัดแปลง
5. กระจกอื่น ๆ


1. กระจกธรรมดา (Float Glass) เป็นกระจกที่พื้นฐานที่สุด เรียกว่าได้รุ่นแรกของกระจกเลยทีเดียว ก็แบ่งได้อีก 2 ประเภท


1.1 กระจกใส (Clear Glass) กระจกใสเป็นกระจกทั่วไปที่สามารถหาได้ง่าย และเชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอ แทบทุกหลังคาเรือนต้องมี เป็นกระจกใสเป็นกระจกโปร่งแสงสามารถมองผ่านทะลุอย่างชัดเจน และแน่นอนเมื่อมองผ่านได้แสงก็สามารถผ่านได้เช่นกัน กระจกชนิดนี้ยอมให้แสงผ่านได้ประมาณ75-92%เลยทีเดียว ถือได้ว่าเป็นกระจกที่สามารถมองทะลุได้มากที่สุดในบรรดากระจกด้วยกัน สีของมันก็จะสีใส (ก็มันชื่อกระจกใส ถ้าเป็นสีอื่นก็จะเป็นกระจกสี มีอธิบายในหัวข้อต่อไป) กระจกใสให้ความรู้สึกถึงความคลาสสิก บ้างก็โมเดิร์นขึ้นอยู่กับสไตล์ของบ้าน กระจกชนิดนี้เหมาะกับห้องที่มีฟังชั่นpublicคือมีความเป็นส่วนตัวน้อย เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก เป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาไปใช้กับห้องอื่นไม่ได้ ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกันคือติดม่านเข้าไปเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวแต่ ว่า..กระจกชนิดนี้ดูดแสงมาก ก็จะมีผลตามมาคืออายุการใช้งานของม่านก็จะลดลง ทางที่ดีหันไปใช้กระจกอย่างอื่นจะเหมาะสมกว่า style ที่เหมาะสมได้แก่ modern loft contemporary





1.2 กระจกสี (Tinted Glass) เหมือนกระจกใส แต่แค่ผสมสีเข้าไปจึงกลายเป็นกระจกสี มีหลายสีหลายเฉดมากขึ้นกับส่วนผสมโลหะอ็อกไซด์ ราคาก็ราว ๆ เดียวกับกระจกใส แต่จะแพงกว่านิดหน่อย ก็ค่าสีที่ผสมยังไงล่ะ ส่วนการนำไปใช้ก็นิยมไปใช้ตามร้านอาหาร อาคาร บ้าน ขึ้นกับการดีไซน์ ให้ความรู้สึกถึงความสดใส มีชีวิตชีวา ของสีสัน หรือใช้เพื่อต้องการให้สีกระจกเหมาะสมกับสีของผนังเป็นต้น เหมาะกับห้องน้องเด็ก ๆ หรือวัยรุ่น style ที่เหมาะสมได้แก่ retro loft modern contemporary เป็นต้น ไม่เหมาะสมกับ tropical style




2. กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass) คือกระจกที่นำไปอาบความร้อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ก็สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ


2.1 กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) คือการเอากระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริงเหมือนกระบวนการของ คอนกรีตเลย ผลที่ตามมาก็คือเพิ่มความแข็งแรง แต่ว่ามีข้อแม้เพียงนิดเดียวคือก่อนที่จะสั่งกระจกชนิดนี้เราต้องรู้ขนาด ของกระจกที่เราค้องการเพราะจะต้องตัดกระจกก่อนกระบวนการเทมเปอริง เพราะหลังจากนั้นการตัดกระจกชนิดนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะการตัดหรือการที่ทำให้มันเสียความแข็งแร็งเพียงจุดหนึ่งมันก็จะแตก ละเอียดเลยทีเดียว กระจกชนิดนี้ ราคาสูงเพราะต้องรู้ขนาดที่แน่นอนก่อน อีกทั้งยังสามารถกันความร้อน ความเย็น และมีความแข็งแรงมาก นิยมนำไปใช้แทนผนัง แผ่นหลังคาหรือ หน้าต่าง ราวบันได ที่ต้องใช้ความแข็งแร็งสูง style ที่เหมาะสมคือ modern loft contemporary tropical retro classic metal neo แทบทุก style เลยก็ว่าได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ






2.2 กระจกฮีตสเตรงเทน (Heat Strengthen Glass) กระจกฮีตสเตรงเทน เป็นกระจกที่ได้จากกระบวนการผลิตที่คล้ายกับกระจกนิรภัยเทมเปอร์แต่ต่าง จากกระจกนิรภัยเทมเปอร์ตรงที่การผลิตฮีตสเตรงเทนจะปล่อยให้กระจกเย็นตัวลง อย่างช้าๆ จึงทำให้มีความแข็งแรงน้อยกว่ากระจกนิรภัยเทมเปอร์ สำหรับการใช้งานจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดในเรื่องความแข็งแรงของกระจก ด้วย นิยมใช้ตกแต่งภายใน ไม่ค่อยเหมาะสมกับการตกแต่งภายนอกแต่ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน โดยการเพิ่มความหนาของมัน แต่ก็จะทำให้ราคาสูงขึ้นไปอีก สำหรับ style ที่เหมาะสมก็แทบทุก style เลยก็ว่าได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ







3. กระจกเคลือบผิว (Surface Coated Glass) กระจกเคลือบผิวเป็นกระจกธรรมดาที่นำไปผ่านกระบวนการเคลือบโลหะบนผิวกระจก ทำให้เกิดการสะท้อน แสงที่โดนกระจกชนิดนี้ก็จะสะท้อนกลับไปทำให้เกิดการประหยัดพลังงานแถมได้ ความงามอีกด้วย style ที่เหมาะสมคือ metal retro modern loft เป็นต้น





4. กระจกดัดแปลง ก็คือกระจกธรรมดาที่นำมาดัดแปลงเพื่อนำไปใช้ประโยชร์ด้านอื่น ๆ ก็ได้แก่

4.1 กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass) คือการนำกระจกธรรมดาสองแผ่นประคบกันและระหว่างกระจกสองแผ่นนี้ก็จะมีช่อง ว่างคืออากาศ เมื่อกระจกถูกแสงที่มีความร้อน ความร้อนก็จะเย็นตัวลง ทำให้ความร้อนเข้ามาในตัวอาคารได้น้อยลง เหมาะกับ ห้องนอน ห้องทานอาหาร ห้องรับแขก ยกเว้นห้องน้ำ เพราะห้องน้ำต้องการแสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค style ที่เหมาะสมก็ทุก style ขึ้นกับการออกแบบ






4.2 กระจกฮีตมิเรอร์ (Heat Mirror) กระจกชนิดนี้คล้าย ๆ กับกระจกฉนวนกันความร้อนคือเป็นกระจกสองชั้นและเคลือบฟิล์มอยู่ เมื่อกระจกถูกแสงที่มีความร้อน ความร้อนก็จะเย็นตัวลง ทำให้ความร้อนเข้ามาในตัวอาคารได้น้อยลง เหมาะกับ ห้องนอน ห้องทานอาหาร ห้องรับแขก ยกเว้นห้องน้ำ เพราะห้องน้ำต้องการแสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค style ที่เหมาะสมก็ทุก style ขึ้นกับการออกแบบ




4.3 กระจกฮีตสต็อป (Heat Stop) กระจกชนิดนี้คล้าย ๆ กับกระจกฉนวนกันความร้อนคือเป็นกระจกสองชั้นประกอบด้วยกระจกสะท้อนแสงที่ เคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็น กระจกด้านนอกและกระจกด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้นสามารถป้องกันความร้อนอินฟราเรดให้ผ่านเข้ามา ส่วนช่องว่างก็ใส่ก๊าซอาร์กอน กระจกชนิดนี้กันความร้อนได้ดีที่สุด กันแสงได้เกือบ100%เลยทีเดียว เหมาะกับห้องผู้สูงอายุ ห้องคนป่วย ห้องนอน ห้องทานอาหาร ห้องรับแขก ยกเว้นห้องน้ำ เพราะห้องน้ำต้องการแสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค style ที่เหมาะสมก็ทุก style ขึ้นกับการออกแบบ




4.4 กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Glass) กระจกชนิดนี้เน้นไปที่ความปลอดภัย เป็นกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาผนึกเข้าด้วยกัน โดยมีแผ่นฟิล์มโพลีไวนิลบิวทิเรต ที่เหนียวและแข็งแรงซ้อนอยู่ระหว่างกลางทำหน้าที่ยึดกระจกให้ติดกันเมื่อ กระจกชนิดนี้เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงกระจกจะมีเพียงรอยแตกหรือร้าวคล้ายใย แมงมุมเท่านั้น สำหรับการออกแบบภายในนิยมนำมาทำ บันใด ผนัง พื้น แผ่นหลังคา ที่ต้องการความแข็งแรงสูงมาก กระจกชนิดนี้ราคาสูงมากเช่นกัน style ที่เหมาะสมทุก style ขึ้นกับการออกแบบ หากไม่ได้ต้องการความปลอดภัยนัก ไม่แนะนำให้ใช้กระจกนี้เพราะแพงมาก เพราะดูผิวเผินแล้วเหมือนกระจกใสที่มีความหนามาก ทั่ว ๆ ไปนี่เอง





5. กระจกอื่น ๆ นอกจากกระจกทั้ง 4 ประเภทข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการผลิตกระจกชนิดอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่นกระจกเงา (Mirror) กระจกลวดลาย (Pattern Glass) กระจกเสริมลวด (WiredGlass) สำหรับการใช้งานก็ต้องพิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้




สำหรับกระจกก็ มีเพียงเท่านี้ หากนำเอาไปใช้ในการเลือกซื้อ ก็จะได้กระจกที่ราคาถูกเหมาะสมกับงาน แถมยังได้ความสวยงาม และยังถนอมเฟอร์นิเจอร์และผู้อาศัยอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น