วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บ้านที่ทำจากขวด

ประวัติการสร้างบ้านขวดนั้น ตำนานของฝรั่งเล่ากันว่า บ้านที่ใช้ขวดเบียร์สร้างขึ้นเป็นหลังแรก มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1902 โดยนาย William F. Peck ที่อยู่ในเมือง Tonopah, NV ใช้ขวดไปทั้งหมด 10,000 ใบ แต่ถูกรื้อทิ้งไปเมื่อต้นปีค.ศ. 1980 นี่เอง อยู่มาได้ตั้ง 80 กว่าปี


บ้านของ Tom Kelly ปัจจุบันที่ทาง Paramount มาซ่อม เปลี่ยนหลังคาใหม่แล้วต่อมาในปี 1905 นาย Tom Kelly ก็สร้างบ้านขวดขึ้นมาบ้าง

ในเมือง Rhyolite, NV โดยใช้ขวดเบียร์ถึง 51,000 ใบ ใช้ดินเป็นตัวก่อ โดยรวบรวมมาจากบาร์เกือบ 50 แห่งในเมืองนี้ ซึ่งเป็นเมืองในยุคตื่นทอง เขาใช้เวลาสร้างบ้านหลังนี้เพียง 6 เดือน แต่หลังยุคตื่นทอง เมืองทั้งเมืองก็ถูกทิ้งร้าง เป็นเมืองผีสิงไป ต่อมาในปี 1925 Paramount Pictures ได้มาค้นพบเมืองนี้และซ่อมบ้านขวดหลังนี้เพื่อใช้เป็นฉากถ่ายหนัง ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ไป
ในปีค.ศ. 1871 John J. Makinen Sr. ในเมือง Kaleva, MI ได้สร้างบ้านขวดโดยใช้ขวดจากบริษัทผลิตขวดของเขาเอง ถึง 60,000 ใบ แต่ใช้เวลาสร้างอยู่นาน มาเสร็จเอาปีค.ศ.1941 แล้วเจ้าตัวก็ตายเสียก่อนที่จะย้ายเข้าบ้านที่อุตส่าห์บรรจงสร้าง หลังจากนั้นจึงมี Kaleva Historical Museum ได้เข้ามารับซื้อเมื่อปีค.ศ. 1981 เพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติไปแล้ว



การใช้ขวดต่างสี ก็ให้ความรู้สึกที่สดใส มีชีวิตชีวาสามารถสลับลวดลาย หรือเล่นเป็นตัวอักษรก็ได้การเลือกขวดมาใช้ ต่างประเทศเขาว่าใช้ขวดแชมเปญจะแข็งแรงที่สุด ของเราคงหายาก มีน้อย มีแต่ขวดเหล้า ขวดเบียร์และขวดลิโพนี่แหละ ที่หาง่ายที่สุด จะใช้แบบสีเดียวชนิดเดียวกันหมดก็ได้ หรือจะใช้สลับเพื่อสร้างลวดลายในตัวก็ได้ ถ้ามีหัวออกแบบได้หน่อย แต่ก็ต้องรวบรวมสะสมกันสักพัก โดยต้องคำนวณปริมาณขวดที่จะใช้ให้พอเพียง งานก่อสร้างจะได้ไม่ชะงักถ้าเกิดขวดไม่พอ ได้มาแล้วก็ต้องมาคัดแยกและล้างฉลากออกก่อน สำหรับบ้านหลังนี้ ออกแบบได้สวยเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะทำบ้างก็ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร ไม่ถึงกับจะต้องเป็นสถาปนิก (สถาปนิกบางคนก็ยังทำไม่ได้แบบนี้) แต่ก็น่าจะต้องเป็นศิลปินในแขนงใดแขนงหนึ่ง เช่น ประติมากร หรือจิตรกร ทีเดียวการออกแบบบ้านนั้น ก็ใช้หลักการออกแบบบ้านทั่วไป ผสมผสานกับวัสดุอื่นๆด้วย ถ้าใช้หลักการของการออกแบบบ้านธรรมชาติได้ก็ยิ่งดี

ความรู้สึกของการอยู่บ้านขวดแก้วนี่จะต่างจากบ้านดินมาก เพราะลักษณะบ้านดินนั้นเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก จะไม่ค่อยมีการเปิดช่องหน้าต่าง ประตูมากนัก เพราะขัดกับลักษณะโครงสร้าง ส่วนบ้านขวดนั้นใช้ได้กับระบบโครงสร้างทั้ง สองแบบ ที่สำคัญและแตกต่างมากๆ คือคุณสมบัติของแก้วที่โปร่งแสง ทำให้ได้รับแสงผ่านจากขวดเข้าสู่ภายในได้ทั้งผนัง แม้ผนังจะทึบไม่มีช่องหน้าต่างก็ตาม แต่ก็ยังได้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง ไม่อึดอัด ถ้าออกแบบดีๆด้วยแล้ว จะได้ effect ของแสงที่สวยงาม สร้างจินตนาการได้เลิศลอยเลยทีเดียว ซึ่งผมหาตัวอย่างมาให้ดูเป็นไอเดียแล้ว คนไทยเราก็มีหัวศิลป์อยู่แล้ว ไม่น่าจะยากเกินความสามารถไปได้นะครับ บ้านขวด และโบสถ์ขวดโบสถ์ขวดหลังนี้ ใช้ประกอบพิธีแต่งงานให้นักท่องเที่ยวมาหลายคู่แล้วปราสาทขวดสุดท้าย บ้านขวดจัดอยู่ในประเภทบ้าน recycle จึงไม่ได้จำกัดขนาดของมัน จะสร้างบ้านใหญ่หรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ เช่นเป็นโบสถ์ เป็นเจดีย์ เป็นปราสาท อะไรก็ได้ทั้งนั้น สร้างอาคารยิ่งขนาดใหญ่ ก็ยิ่งลดการใช้วัสดุก่อสร้างจากระบบอุตสาหกรรมได้มาก ประหยัดพลังงาน และช่วยลดมลภาวะให้สิ่งแวดล้อม คือหัวใจสำคัญ

ที่มา : dek-d.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น