วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทเขาพระวิหาร

สถาปัตยกรรมขอม บนภูเขาสูง

ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นโบราณสถานที่มีความงดงาม โดเด่นอยู่เหนือ
เทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นพรมแดน ระหว่าประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 657 เมตร อยู่ในเขตการปกครองของ
อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา




เดิมปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตการปกครองของประเทศไทย ขึ้น
อยู่กับบ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (ค.ศ.1899,ร.ศ.-
118 เมื่อ พ.ศ. 2442) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์

ได้ทรงค้นพบ พระองค์ได้จารึก ร.ศ. และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผา
เป้ยตาดีว่า 118 สรรพสิทธิ จากนั้นอีก 60 ปีต่อมา ประเทสกัมพูชา (นำโดย
สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เพื่อเรียกร้องอำนาจอธิปไตย
เหนือปราวาทเขาพระวิหารคืน (ยื่นฟ้องทั้งมหด 73 ครั้ง) ต่อมาศาลโลกได้
ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชาด้วย
คะแนน 9 ต่อ 3 เสียง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 นับเป็นการเสียดินแดน
ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย โดยบริเวณดังกล่าวมีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่





ผลการตัดสินของศาลโลก มีข้อกำหนด 3 ประการ คือ
1. ให้คืนเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่
2. ให้คืนวัตถุโบราณจำนวน 50 ชิ้น
3. ให้ถอนทหารและตำรวจออกจากพื้นที่



ลักษณะสำคัญของปราสาทเขาพระวิหาร

บันไดดินด้านหน้าของปราสาท บันไดดินด้านหน้าเป็นทางเดิน
ขึ้นลงขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ลาดตามไหล่เขา บางชั้น
สกัดหินลงไปในภูเขา มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 75.50 เมตร มีจำนวน
162 ขั้น สองข้างบันไดมีฐานสี่เหลี่ยมตั้งเป็นกระพัก (กระพักแปลว่า ไหล่
เขาเป็นชั้นพอพักได้) ขนาดใหญ่เรียงรายขึ้นไป ใช้สำหรับตั้งรูปสิงห์ทวาร-
บาล (ทะ-วา-ละ-บาน) เพื่อเฝ้าดูแลรักษาเส้นทาง

สะพานนาคราช สะพานนาคราช หรือ ลานนาคราช อยู่ทางทิศใต้



ของบันไดหินด้านหน้า ปูด้วยแผ่นหินเรียบ มีขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว
31.80 เมตร สองข้างสะพานนาคราชสร้างเป็นฐานเตี้ย ๆ บนฐานมี นาค
ราช 7 เศียร จำนวน 2 ตัว แผ่พังพานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลำตัวอยู่บน
ฐานทั้งสอง ทอดไปทางทิศใต้ ส่วนหางของนาคราชชูขึ้นเล็กน้อย นาคราช
ทั้งสองตัว เป้นนาคราชที่ยังไม่มีรัศมีเข้ามา ประกอบมีลักษณะคล้าย ๆ งู
ตามธรรมชาติ เป็นลักษณะของนาคราชในศิลปะขอม แบบปาปวน

โคปุระ ชั้นที่ 1 โคปุระชั้นที่ 1 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงกากบาท
ไม่มีฝาผนังกั้น มีแต่บันไดและซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ สร้างอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม-
ย่อมุมบันไดทางขึ้นโคปุระ ชั้นที่ 1 ทางทิศเหนือ เป็นบันไดหินมีลักษณะค่อน
ข้างชัน



เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าการที่จะเข้าเฝ้าเทพนั้นจะไปด้วยอาการ
เคารพนพนอบในลักษณะหมอบคลานเข้าไป ทางทิศตะวันออกของโคปุระ
ชั้นที่ 1 มีเส้นทางขึ้นคล้ายบันไดหน้าแต่ค่อนข้างชัน และชำรุดหลายตอน
เป็นเส้นทางขึ้น-ลง ไปสู่ประเทศกัมพูชา เรียกว่าช่องบันไดหัก
ทางดำเนิน ด้านทิศใต้ของโคปุระชั้นที่ 1 มีลักษณะเป็นทางเดินขนาด
ใหญ่ ปูด้วยหินศิลาทรายกว้าง 11.10 เมตร ยาว 275 เมตร บนขอบทั้งสอง
ข้างของทางดำเนินทำเป็นเขื่อนยกสูงขึ้นเล็กน้อย บนสันเขือนทั้งสองข้างปักเสา
ศิลาทรายข้างละ 2.15 เมตร
สระสรง สระสรงทางด้านทิศตะวันออกของทางดำเนินห่างออกไป
12.40 เมตร จะพบสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 16.80 เมตร ยาว
37.80 เมตร กรุด้วนท่อนหินเป็นชั้น ๆ มีลักษณะเป็นขั้นบันได เรียกว่าสระ
สรงกล่าวกันว่าใช้สำหรับเป็นที่ชำระร่างกายก่อนที่จะกระทำพิธีทางศาสนา
โคปุระ ชั้นที่ 2 โคปุระชั้นที่ 2 สร้างเป็นศาลาจตุรมุข มีกำแพงด้านทิศ
ใต้เพียงด้านเดียว อยู่บนไหล่เขาทางทิศเหนือของปุระชั้นที่ 2 บริเวณพื้นราบ
ของเส้นทางดำเนิน และสองข้างทางขึ้นลงของบันได จะพบรอยสกัดลงในพื้น
ศิลา มีลักษณะเป็นหลุมกลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณฟุตเศษ ๆ เป็นหลุม
สำหรับใส่เสา เพื่อทำเป็นปะรำพิธี โดยมีประธานในพิธีนั่งอยู่ในปะรำพิธีเพื่อ
ดูการร่ายรำบนเส้นทางดำเนิน
โคปุระ ชั้นที่ 3 (ปราสาทหลังที่ 1) โคปุระชั้นที่ 3 เป้นโคปุระ หลังที่ใหญ่โตมโหฬาร
ที่ยังสมบูรณืที่สุด ลักษณะการสร้างคล้ายกับโคปุระชั้นที่-1, 2



แต่ผิดตรงที่มีฝาผนังกั้นล้อมรอบความใหญ่โตมากว่าเยอะ(ถ้ามีฝาผนัง
กั้นหรือกำแพงแก้วล้อมรอบ) นักโบราณคดีเรียกว่า ปราสาท
โคปุระ ชั้นที่ 4 (ปราสาทหลังที่ 2) โคปุระชั้นที่ 4 หลังนี้ผุพังมากเนื่องจากกาลเวลาแผ่นดินทรุด
ดคปุระ ชั้นที่ 4 นี้ ประกอบด้วยหลายส่วน และจะมีตัวหนังสือขอมโบราณสลักลงในแผ่นศิลาบริเวณกรอบประตูด้านทิศเหนือ
ของปรางค์ประธาน บริเวณข้าง (ภายใน) จะสร้างบรรณาลัยไว้(หรือบรรณา-
รักษ์) ซึ่งแปลว่าห้องสมุด สร้างไว้เพื่อเก้บคำภีร์ทางศาสนา

เป้ยตาดี เป้ยเป็นภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า ชะง่อนผา หรือโพงผา



ตรงยอดเป้ยตาดีสูงกว่าระดับน้ำทะเล 657 เมตร ถ้าวัดจากพื้นที่เชิงเขาพื้นราบฝั่งประ-
เทศกัมพูชาสูงประมาณ 447 เมตร ตรงชะง่อนผาเป้ยตาดี จะมีรอยสักพระ
หัตย์ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ว่า 118-
สรรพสิทธิ แต่ก่อนมีธงไตรรงค์ของไทยอยุ่ที่ บริเวณผาเป้ยตาดี ในปัจจุบัน
คงเหลือแต่ฐานไตรรงค์




:ข:) ตบท้ายด้วยสาวงามจากดินแดนอีสานใต้

นู๋น้อย is offline


ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread36880.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น