วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฟื้นฟูร้านค้าปลีกด้วยดีไซน์


« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2009, 12:32:44 pm »

การ ตกแต่งร้านในปัจจุบันมีหลายไอเดีย ซึ่งต้องอาศัยผู้ออกแบบสร้างสรรค์ช่วย โดยมีคอนเซ็ปต์เหมาะสมอันเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นยอดขายด้วยดีไซน์ ร้านค้าปลีกในปัจจุบันเริ่มเลือนหายไปจากสังคม

เพราะการบีบรัดจากร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ทั้งแบรนด์ไทย แบรนด์นอก "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" โดยเฉพาะร้านค้าประเภทที่ไม่มีหัวด้านดีไซน์ ไม่รู้จักนำเอาดีไซน์ที่ดี ซึ่งมีบทบาทที่สุดในยุคนี้มาใช้ประโยชน์ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ด้วยวิธีออกแบบสร้างสรรค์ ให้ภาพรวมของร้านมีเอกภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อร้านมากขึ้นทุกปี อาศัยบุญเก่า คุณภาพเดิมๆ จะอยู่ยากขึ้นและยากขึ้น

ดังนั้น การออกแบบที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ร้านค้าปลีกอยู่รอด ตัวอย่างร้านค้าปลีก ที่เป็นส่วนหนึ่งในสังคม ที่ต้องเร่งจัดการด้วยการออกแบบอย่างเร่งด่วน มีดังนี้

1.ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย

ร้านโชห่วย เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของร้านค้าปลีกที่จำเป็นต้องรื้อทั้งระบบ โดยการส่งนักคิด นักออกแบบเข้าไปคิดวิธีการที่ทำให้ร้านค้าสามารถเดินต่อไปได้

โดยนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับที่ตั้ง สร้างจุดขายของตัวเองที่แตกต่างเฉพาะตัวขึ้นมา มีการอบรมให้ข้อมูลด้านสต็อกสินค้า และการบริหารร้านค้าในอนาคต มีการปรับเปลี่ยนบรรยากาศ ดูแลเรื่องความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดวางสินค้าอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ร้านโชห่วยไม่ห่วยอีกต่อไป

2.ร้านขายอาหาร

ร้านค้าปลีกรายย่อยประเภทบริการอาหาร เครื่องดื่ม มีมากมายหลายประเภทอาหาร ร้านประเภทนี้ตื่นตัวในการตกแต่งก่อนร้านประเภทอื่น เพราะมีการตกแต่งให้เห็นมากมายทั่วไป แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านที่ยังไม่มีการตกแต่ง ยังยืนยันใช้บรรยากาศเดิมๆ ที่มีอยู่ อาศัยจุดขายด้านอื่นๆ เช่น รสชาติอาหาร ลูกเล่นการบริการเดิมๆ แต่ในปัจจุบัน ร้านอาหารเปลี่ยนไป จะมีการพัฒนาการให้บริการด้วยดีไซน์แบบต่างๆ การกินที่มีการดีไซน์ "Dining Design" การเสิร์ฟอาหารแบบแปลกใหม่ การจัดผังแบบใหม่ มุมมองใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม มีมุมมองในการใช้วัสดุที่เกินคาดเดา ลูกเล่นในการใช้แสงสว่างทำให้เกิดมิติในบรรยากาศที่ดูไม่ธรรมดา มีไอเดีย มีความพิเศษที่กระตุ้นเร้าให้ร้านน่าสนใจเป็นที่จดจำ

3.ร้านเสื้อผ้า

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันร้านค้าปลีกขายเสื้อผ้า เริ่มสูญพันธุ์โดยเฉพาะร้านที่ไม่เน้นแบรนด์ ไม่เน้นบรรยากาศและลักษณะเฉพาะแต่ก็เริ่มเห็นความพยายามตกแต่งร้านเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่มีไอเดีย ทั้งเล็กทั้งใหญ่ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่จะอยู่รอดหรือไม่อยู่ที่ใครจะค้นพบไอเดียที่เป็นจุดขายที่สามารถทำให้ เกิดความยั่งยืนได้ บ้างก็ฉาบฉวย บ้างก็ไม่โดดเด่น เบลอ การตกแต่งไม่เอื้อให้สินค้าดูดี แต่บางแห่งกลับไปทำร้ายทำลายสินค้าจนสินค้าจมหายไป

การออกแบบร้านเสื้อผ้าจึงต้องสะท้อนแบรนด์ออกมาในบรรยากาศทุกส่วนสัด และเป็นเสมือนแบ็คกราวนด์ที่ทำให้สินค้าดูดีมากที่สุดครับ

4.ร้านขายของที่ระลึกและสินค้าท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น

ร้านค้าประเภทนี้มีส่วนที่ช่วยการท่องเที่ยว หรืออาจจะกลับทำลายสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ก็เป็นได้ ถ้าไปรบกวนสถานที่ท่องเที่ยว เช่นการจัดวางร้านบดบังทัศนียภาพ การส่งเสียงรบกวน ไปจนถึงหน้าตารูปแบบร้านไม่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม จึงเห็นควรให้ร้านค้าประเภทนี้ศึกษารูปแบบ วัฒนธรรม สไตล์ที่ไม่ไปขัดแย้งกับท้องถิ่นท่องเที่ยวนั้นๆ

5.ร้านขายวัสดุก่อสร้าง

ร้านเล็กๆ เริ่มหายไปเช่นกัน ปัญหาอยู่ที่คุณภาพสินค้าและราคา อีกทั้งระบบการจัดการสมัยใหม่ที่จะต้องเข้ามามีบทบาทต่อร้านประเภทนี้มากที่ สุด การจัดการเรื่องสต็อกสินค้า ความมั่นใจเรื่องสเปคสินค้าให้ตรงตามมาตรฐาน การออกแบบแบรนด์ร้าน การออกแบบแพคเกจจิ้งและการจัดระบบที่สามารถเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น

6.ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า

ร้านที่เป็นวิกฤติ หลายร้านเลิกกิจการไป สู้ร้านใหญ่ในห้างหรูไม่ได้ ร้านตึกแถวปากซอยอยู่ยากขึ้น อันเกิดจากภาพลักษณ์ที่ทำให้คนเชื่อว่าไม่เป็นของแท้ ย้อมแมว อันเกิดจากการจัดตกแต่งบรรยากาศ และการจัดระบบดูไม่น่าเชื่อถือ ร้านประเภทนี้ในกรุงเทพแทบหาดูไม่ได้แล้ว มีแต่ร้านในต่างจังหวัดที่ห้างใหญ่ยังไปไม่ถึง

ดังนั้น ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของร้านค้าประเภทนี้ ต้องปรับปรุงภาพลักษณ์โดยด่วน ซึ่งสามารถติดตามต่อได้ในคอลัมน์นี้ครับ



โดย อ.เอกพงษ์ ตรีตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น