วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทำไมต้องจ่ายค่าบริการออกแบบ

ลูกค้าหลายๆท่านมักจะต่อรองสถาปนิก หรือดีไซน์เนอร์ว่าทำไมค่่าบริการออกแบบจึงแพงจัง คิดเหมาถูกกว่านี้ได้ไหม งานยังไม่สร้างเลยทำไมต้องจ่ายด้วย บางที่จะให้ทำให้ฟรีซะดื้อๆเอาเลยก็มี เล่นเอาเหล่าผู้ประกอบวิชาชีพที่ทุ่มเทแรงกาย แรงสมอง แลกกับค่าบริการในอัตราที่(เชื่อได้ว่า)ต่ำที่สุัดในโลก ถึงกับขวัญเสียถอนใจกับไปตามๆกัน

สำหรับลูกค้าเลว ที่รู้อยู่แล้วว่างานแต่ละงานกว่าจะทำสำเร็จได้ต้องใช้เวลา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้ออกแบบมากแค่ไหน แล้วยังตั้งใจจะหลอกใช้ เอารัดเอาเปรียบคนที่ทำงานให้กับเค้าอีกนั้น เราจะไม่ขอพูดถึงในที่นี้

แต่สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยใช้บริการ ไม่เข้าใจงานของสถาปนิกหละ แล้วเราจะทำให้เค้าเข้าใจเราำได้อย่างไรว่า ทำไมค่าแบบที่เค้ารู้สึกว่าแพงนั้น จริงๆแล้วเราคิดราคาอย่างเหมาะสม และคุ้มค่าอย่างไร
หัวใจสำคัญอยู่ที่การสื่อสารอย่างเข้าใจ และจริงใจต่อกันระหว่างผู้ออกแบบ และลูกค้า เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในมุมมองของลูกค้าว่าทำไมจึงรู้สึกว่าแพง และอธิบายให้เค้าเข้าใจว่างานออกแบบที่ดีนั้นมีคุณค่าอย่างไร และราคาค่าแบบที่เค้าจะต้องจ่ายนั้นคุ้มค่าแค่ไหน

มุมมองของลูกค้า
  • ค่าแบบราคาสูงเมื่อเทียบกับต้นทุนของสถาปนิำก และดีไซน์เนอร์ที่ไม่น่าจะสูงมาก ใช้แค่สมอง เขียนๆออกมาได้ แป๊บเดียวก็น่าจะเสร็จ
  • ปริมาณงานออกแบบมีไม่มาก ทำไมจึงต้องคิดแพง
แนวทางในการชี้แจง
  • ต้องให้ลูกค้าเข้าใจว่า งานออกแบบทั้งหมดต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ ทั้ง สถาปนิก อินทีเรีย วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบต่างๆ หลายคน เพื่อดำเนินการออกแบบที่ต้องใช้ทั้งการ ศึกษา วิจัย คำนวณ และคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้งานสถาปัตยกรรมมีคุณค่า
  • ปริมาณงานที่ผู้ออกแบบต้องทำมีหลายขั้นตอนที่บุคคลภายนอกมองไม่เห็น โดยมากมักจะเข้าใจว่ามีแต่รูปทัศนีย์ภาพ (3D presentation) กับงานเขียนแบบ แต่แท้ที่จริงแล้วมีขั้นตอนมากมายที่ควรจะต้องชี้แจงให้ลูกค้ารับทราบ ตั้งแต่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการออกแบบเบื้องต้น กระบวนการพัฒนาแบบ จนกระทั้งการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแบบ เพื่อสรุปโครงการเมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ลูกค้ารับทราบและเข้าใจผลของงาน อีกทั้งการบริการที่จะได้รับด้วย
มุมมองของลูกค้า
  • มีูผู้ออกแบบตั้งหลายคน คิดค่าบริการแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ บางที่ให้บริการฟรีก็ยังทำได้ ทำไมคุณถึงคิิดราคาสูงนัก

แนวทางในการชี้แจง
  • ค่าบริการ = ต้นทุน + กำไร
  • ทุกๆกิจกรรมย่อมมีต้นทุน งานที่ปริมาณน้อยย่อมมีต้นทุนต่ำกว่างานที่มีปริมาณมาก และองค์กรที่มีประสิทธิภาพย่อมมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ถ้ามีงานออกแบบถึงแม้ไม่คิดค่าบริการ ต้นทุนมากน้อยนั้นก็จะต้องถูกรวมอยู่กับมูลค่าของสินค้า หรือบริการอย่างได้อย่างหนึ่งที่คุณต้องจ่าย ทั้งนี้การเปรียบเทียบค่าบริการออกแบบจึงควรที่จะมองถึงผลของงาน และคุณค่าที่คุณจะได้ัรับ ตลอดจนประสิทธิภาพของผู้ออกแบบด้วย
  • กำไรจะมากจะน้อยคือสิ่งที่ผู้ให้บริการกำหนดแล้วบวกลงกับต้นทุนไป จึงเป็นค่าบริการ ผู้ออกแบบมีกำไรมากน้อยดูได้ไม่ยาก ก็ให้ลูกค้ามองประสิทธิภาพขององค์กร และความเป็นอยู่ของผู้ออกแบบ หรือพนักงานองค์กรนั้นสิว่าเป็นอย่างไร ฟุ้งเฟ้อไหม ก็คงจะพอรู้ได้ (ลองเปรียบเทียบกับผู้รับเหมาก็ได้ครับ จะได้เห็นภาพของอัตรากำไรชัดเจน)


สถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบมาอย่างดีมีคุณค่าดังนี้
  1. อาคารสวยงามโดดเด่นมีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำ
  2. ไม่เพียงตอบสนองการใช้สอยอย่างดีแล้ว แต่ยังสร้างสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ใช้อาคารให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
  3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ทั้งวัสดุ แรงงาน และระยะเวลา
  4. เหมาะสมทั้งต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศ การใช้สอย ทั้งภายใน ภายนอก และบริเวณโดยรอบ
  5. มีความแข็งแรงถูกต้องตามหลักวิศวกรรม มีอายุการใช้งานยาวนานคุ้มค่าต่อการลงทุน
  6. มีเทคโนโลยีประกอบอาคารที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการประกอบธุรกิจ การประหยัดพลังงาน และการดูแลรักษา อีกทั้งยังรองรับอนาคตที่ดีกว่า
...สถาปนิก และดีไซน์เนอร์เป็นอาชีพไม่ร่ำรวย แต่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ซึ่งสะท้อนได้จากผลของงานที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา ดังนั้นถ้าอยากรวย อาชีพนี้คงไม่ใช่ แต่ถ้าจะทำอาชีพนี้ก็ขอใ้ห้ทุกคนจงทำงานอย่างมีคุณค่า เพื่อให้คนอื่นๆได้จดจำเราอย่างที่เราปรารถนา...

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตอนนี้ยังนึกม่ายออก

ณ ตอนนี้ ข้าพเจ้า อนาถ แอนด์ อนาถาตัวเองเป็นที่สุด ยังนึกม่ายออกว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นยังงัยเพราะตอนนี้ได้แต่อุ้ยอ้ายไปวันวัน เพราะหนูน้อยในท้องกลมกลมนี่แหล่ะ ฮ่าฮา หลังเลี้ยงน้องให้เติบใหญ่ แล้วจะทำการทำงานอะรัยยังนึกมั่ยออกเล้ย ตอนนี้ต้องตั้งสติ บวกตั้งใจ คิดดี ร่าเริง แจ่มใสเพื่อลูกน้อย คิดมากก้อม่ายด้ายเครียดไป คุณสามีก้อคิดจะให้เขียนนิยายอยู่กะบ้าน ท่าเดียว เพราะเป็นทางเดียวที่จะเลี้ยงลูกควบคู่ไปด้วย ว่าจะเข้าท่ามั้ยก้อยังคิดอยู่เพราะสมองน้อยๆของข้าพเจ้ามิได้มีจินตนาการกว้างใหญ่ไพศาลอย่างที่คนเค้ามีกันเอาซะเลย แล้วมันจะคิดนิยายออกได้อย่างไร งง ริอาจคิดจะเป็นดีไซเนอร์ ออกแบบเสื้อผ้า กระเป๋า อะรัยทำนองเนี๊ยะ ก้อได้แต่คิด เพราะเป็นคนที่ไม่ได้ตามแฟชั่นเค้าเลย ปกตินี่ คนเค้าเรียกป้ากะยายมาตลอดชีวิต แล้วจะออกแบบเสื้อผ้าอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่นอะเนี๊ยะกุ้มจริง เอาไว้จะค่อยๆคิด คิดออกเมื่อไหร่จะนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนละกัน ถึงจะไม่มีครายใคร่อยากรู้ก้อตาม ไว้คราวหน้ามาใหม่จ้า ที่เข้ามาเขียนไอ้บล็อกอะรัยเนี๊ยะ ก้อคุณสามีอีกนั่นแหล่ะ ไม่รู้กลัวฉันจะไม่มีอะรัยทำหรืออย่างไรก้อมิทราบ กลัวเป็นง่อยมั้ง ไว้ว่างจะมาเขียนใหม่ จ้า บาย :)

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เอกลักษณ์ในการออกแบบของธีม (teem's design signature)


คงจะดี ถ้าเราได้พูดคุยกันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งๆที่พวกเราก็ได้ทำงานร่วมกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แม้เคยได้ปรึกษากันบ้าง ได้สร้างงาน เกิดไอเดียต่างๆมากมาย ทั้งหลายๆงานออกแบบที่สร้างขึ้นในปี 2008 ก็มีแนวทางที่พอจะสัมผัสได้ว่ามีลักษณะร่วมกันอยู่ แต่ลักษณ์นั้นก็ยังไม่เด่นชัดจนกำหนดเป็นคุณค่าของธีมได้ และพวกเราเองก็มิเคยได้รวบรวมรูปแบบ หล่อรวมความคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ กำหนดทิศทาง และพัฒนาแนวความคิดนั้นอย่างเป็นจริงเป็นจังในการสร้างตัวตนของเราเองเสียที จึงขอเปิดหัวข้อนี้ไว้ให้แสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยไม่จำกัดเฉพาะแต่ดีไซน์เนอร์ แต่อยากให้ทุกๆคนได้ช่วยกันแสดงทัศนคติเกี่ยวกับ teem's signature กันทั้งสิ้นครับ...

ห้วงคำนึงที่ดี


ช่วงเวลาที่ดีของคนทำงานคนหนึ่ง แต่ละปี แต่ละปี มีความสุขและเวลาทีดีตั้งมากมาย

แต่ละช่วงเวลาที่มีค่า มีความหมาย เราก็ได้บันทึกมันไว้ในความทรงจำ

ความสุขของคนเรานั้นวัดได้จากอะไร ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความร่ำรวย ความมีชื่อเสียง มันจะมีค่าซักแค่ไหน ถ้าต้องแลกมาด้วยเวลาทั้งชีวิตที่คิดถึงแต่ตัวเอง

เวลา เวลา และ เวลา มนุษย์ทุกคนมีเวลาที่จำกัด ไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้น แต่เวลาจำกัดทุกสรรพสิ่ง อายุไม่อาจย้อน เวลาไม่เคยยอมโอนอ่อนต่อสิ่งใด

เมื่อเราจากไป จะมีใครคิดถึงเราบ้างไหม เขาเหล่านั้นจะจดจำเราในแบบใด ใช่คนคนเดียวกันกับที่เราคิดว่าเราเป็นไหม เราเคยทำให้ใครมีความสุขบ้างไหม

และเราหละเคยมีความสุขจริงๆบ้างไหม

เมื่อเวลาของเราหมดลง เราจะทิ้งอะไรไว้ข้างหลัง ความสุข หรือ ความทุกข์


วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การออกแบบแสงสว่าง(ตอนที่1)

เริ่มเลยนะ
แสงสว่างมีอิทธิผลต่อประสิทธิภาพในการมอง และภาพของทุกๆสิ่งที่เรามองเห็น ไม่ว่าจะเป็นความคมชัด สีสันที่สวยสด หรือสีที่ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ตลอดจนความรู้สึกซึ่งได้รับจากการมองเห็นแสงสีตามหลักจิตวิทยา ดังนั้นคุณภาพของแสงจึงเป็นสิ่งที่สถาปนิก และดีไซน์เนอร์ต้องคำนึงถึงมากในการออกแบบสถาปัตยกรรม และออกแบบตกแต่งภายใน

แสงคืออะไร
แสงเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านะ โดยที่มนุษย์เราจะมองเห็นแค่ในช่วงความยาวคลื่น หรือสเปคตรัม ตั้งแต่ รังสีอัลตราไวโอเลตถึง รังสีอินฟราเรด หรือตั้งแต่ สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ครับ

รูปจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5f/Spectrum4websiteEval.png

ดังที่เรารับทราบตั้งแต่ ส.ป.ช. ประถม5ว่า มนุษย์เรามองเห็นได้จาก การที่แสงจากแห่งกำเนิด ส่องไปที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ลูกกระตาของเรา ทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นๆ เพราะฉะนั้นถ้าำไม่มีแสงก็ไม่เห็นวัตถุ
สีของสิ่งต่างๆที่เรามองเห็นจึงเิกิดจากทั้งสีของแสง และสีของวัตถุนั้นๆเป็นตัวแปร แสงสีขาวส่องวัตถุสีแดง วัตถุสีแดงก็ดูดซับสเปคตรัมสีอื่นๆไ้ว้ สะท้อนแต่สเปคตรัมสีแดงออกมาจึงเห็นเป็นสีแดง ถ้าแสงสีแดงส่องวัตถุสีขาวก็จะสะท้อนสีแดงให้เราเห็น แล้วสีดำหละ ดูดซับทุกๆสเปคตรัมเลย สีดำอยู่กลางแดดจึงร้อนเพราะดูดพลังงานไปมาก

คุณสมบัติหลักของแสงมีด้วยกันดังนี้ (ไม่ครบแต่เอาแค่พอเข้าใจง่ายนะ)
กำลังของแสง (luminous flux:lumen) เข้าใจง่ายๆว่าเป็นพลังงานหรือกำลังแสง มีหน่วยเป็นลูเมน มักใช้อธิบายถึงกำลังของแสงที่ส่งออกมาจากหลอดไฟ และใช้อธิบายประสิทธิภาพของหลอดได้ด้วย ว่าใช่ไฟกี่วัตต์ได้แสงกี่ลูเมน ดูตัวอย่าง ได้แสงลูเมนมากแต่ใช้กำลังวัตต์น้อยก็แปลว่าประหยัดไฟ
ตัวอย่าง
หลอดฟลูออเีรนเซนต์ 36 w ให้กำลังแสง 1680 lumen ใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์และได้แสงกี่ลูเมนหาได้โดย เอากำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็น watt ที่ใส่เข้าไปในหลอดไฟหารด้วยกำลังแสงที่ส่งออกมาจากหลอดไฟ (lumen/watt) ลองหารดูจะได้ 47lumen/wattครับ หลอดใส้ incandescent ใช้ไฟฟ้า 100w จะได้แสงประมาณ 780lumen หรือ 7.8lumen/watt ดังนั้นหลอดฟูลออเรสเซนต์ แค่36w ได้แสงมากกว่าตั้งเกือบ 2เท่า หรือประหยัดไฟกว่า 6 เท่าแหนะ

ทิศทางของแสง อันนี้เข้าใจง่าย และนี้แหนะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราเลือกใช้โคมไฟที่มีโคมสะท้อนแสง(reflector)แตกต่างกัน ก็ไปตามทิศทางของแสงที่ต้องการไง

ความเข้มแสง (luminous intensity) คือปริมาณกำลังแสง lumen ที่ส่องสว่างมาในทิศทางหนึ่งๆ มีหน่วยเป็นแคนเดอลัส candela (cd)

ความสว่าง (illuminance) อันนี้สำคัญ เพราะมักใช้อธิบายบ่อยในการออกแบบ โดยที่กิจกรรมต่างๆนั้นมีความต้องการความสว่างไม่เท่ากัน ดูัตัวอย่าง สถาปนิก หรือดีไซน์เนอร์จึงต้องกำหนดปริมาณดวงโคม กำลังแสง หรือช่องแสงธรรมชาติ ตามความเหมาะสมของฟังก์ชั่นในแต่ละพื้นที่
ตัวอย่าง การเขียนแบบต้องการความสว่างประมาณ 400 lux มากกว่าการรับประทานอาหารที่ต้องการแสง เพียง 120-180lux เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเขียนงานไป กินข้าวไป!

แสงสี (colour appearance) ก็คือสีของแสงที่เรามองเห็นเมื่อแสงนั้นตกกระทบวัตถุ เกิดจากแสงนั้นมีความยาวคลื่นเฉพาะสีนั้นๆ แต่แสงธรรมชาติหรือแสงขาวมีหลายช่วงคลื่นผสมกันจึงเป็นสีขาว (สีขาวเหลืองหรือ warm white ก็คือมีแสงครบทุกสเปคตรัม แต่หนักไปทางสีเหลืองหรือแดง) แสงสีอาจได้จากหลอดไฟแสงสีขาวแต่มีฟิลด์เตอร์สีไปบังไม่ให้สเปคตรัมของแสงช่วงอื่นๆผ่านมาได้ เหลือแต่เฉพาะสีที่เป็นสีเดียวกับฟิลด์เตอร์ลอดออกมา จึงได้แสงสีนั้นๆ
โดยมากแสงสีมักพบได้ใน เธค หรือสถานบันเทิงที่ใช้แสงสลัวๆ มิใช่ว่าเจ้าของผับต้องการประหยัดไฟ หรือปิดบังใบหน้าใคร แค่มันทำให้เราเห็นแสงสีได้ง่ายขึ้น จะได้ตื่นเต้น

คุณภาพของแสงสี(colour rendering index) คือคุณสมบัติของแสงที่สามารถเผยสีทีแท้จริงของวัตถุได้ (แล้วอะไรคือสีที่แ่ท้จริงหละ ไหนจะแสงก็มีสี วัตถุก็มีสี) ดังที่เรารู้ว่าแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเราจึงจะมองเห็น ดังนั้นถ้าแสงของเรามีทุกๆสเปคตรัม คือมีทุกสีอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อเอาแสงนั้นไปส่องกระทบสิ่งใด ก็จะสามารถสะท้อนสีของสิ่งนั้นๆออกมาได้ทั้งหมด ส่วนจะเป็นสีที่แท้จริงไม่เพี้ยนนั้นจะต้องนำไปเทียบกันสีของวัตถุที่เรามองเห็นด้วยแสงธรรมชาติฟ้าใสยามเที่ยงครับผม

วันนี้ขอจบเลคเชอร์เรื่องแสงเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ คราวหน้าค่อยมาคุยกันต่อเรื่อง ดวงโคม หลอดไฟชนิดต่างๆ และเทคนิคการออกแบบในทางสถาปัตยกรรม และอินทีเรียครับ

จาก จานก้อง เลคเชอร์ 101

อ่านเพิ่มเติมจาก http://th.wikipedia.org/wiki/แสง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ช่วงเวลาที่ดี


ความสุขของคนทำงานคนหนึ่ง แต่ละสัปดาห์แต่ละเดือนมีมากมาย ตั้งแต่ทำโครงการของลูกค้าได้สำเร็จ ลูกค้ามีความสุขและเพื่อนร่วมงานยินดี มีเวลาดีๆให้กับคนที่เรารัก และครอบครัว ได้เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีกเดือน
แต่ละเดือน แม้ไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็มีความสุขได้เสมอ...

-...ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ไหน แม้บางที่มันแวะมาทักทาย ทำให้เราเปี่ยมล้นและตื่นเต้นด้วยความปิติ เหมือนโลกนี้เต็มไปด้วยความสุขและความยินดี แต่เมื่อมันจากไป ความเงียบเหงา ดำเทาก็ปกคลุม เมื่อเราคิดถึงมันในยามที่ชีวิตเหมือนขาดไป ใช่ความทุกข์ไหมที่มาแทน ความสุขที่แท้จริงนั้นมีไหม ความสุขที่ใครๆก็ปรารถนา...-

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เปรียบรักดั่งบทกลอน

มีบทกลอนที่นิยามเกี่ยวกับความรักไว้อย่างลึกซึ้งบทหนึ่งว่า
(2)
คือนำผึ้ง คือน้ำตา คือยาพิษ
คือหยาดน้ำ อมฤต อันชื่นชุ่ม
คือเกสร ดอกไม้ คือไฟรุม
คือความกลุ้ม คือความฝัน นั่นแหละรัก
...หลายคนคงอมยิ้มขณะที่อ่านกลอนบทนี้อยู่...