วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มีใครรู้ความหมายของ Teem บ้างคะ?

ที่เกิดคำถามนี้ขึ้นมา ไม่ได้มีความนัยอะไรหรอกค่ะ
เพราะด้วยหน้าที่ที่ต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกตลอดเวลา
ทั้งเซลส์,พนักงานส่งของ,ลูกค้า ฯลฯ มักจะเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชื่อบริษัทของเราบ่อยๆ
บ้างก็จ่าหน้าเอกสารผิดๆถูกๆ บ้างก็เรียกผิด ว่า
"Team studio design" เหมือนทีมฟุตบอลหรือเปล่า?
"Theme studio design" แบบนี้เป็นแบบมีแก่นสาร มี concept?
"Teem stereo" นี่ยิ่งงง เปลี่ยนธุรกิจให้เลยซะงั้น?

มีใครเคยสงสัยบ้างมั้ยคะ ว่าจริงๆแล้ว Teem หมายความถึงอะไร
วันนี้คงจะได้ถึงบ้างอ้อกันซะที ก็เลยลองเปิด dictionary ดู คำว่า " Teem "
แปลว่า เต็ม หนาแน่น คับคั่ง (น่าจะพอเดากันได้แล้วใช่มั้ยคะ ว่าหมายถึงอะไร)
แต่ด้วยความที่อยากจะสื่อสารให้พี่ๆน้องๆชาว TSD ได้ทราบอย่างถูกต้อง
เลยไปสืบข้อมูลมาเพิ่มเติมค่ะ จากผู้ออกแบบและวางแนวคิด Teem นี้ค่ะ
มีความหมายในเชิงลึกซึ้งทั้งทางภาษา และความนัยที่ซ่อนอยู่ หมายความว่า
เต็ม หลากหลาย (ไม่ต่างจากที่เปิด dictionary มา) แต่ก่อนที่จะเต็ม
มันต้องมีส่วนประกอบมาเติมให้เต็ม ก็คือ ผู้คนที่หลากหลาย มีความฝันที่หลากหลาย
มาร่วมกันเติมเต็มบนเส้นทางเดียวกัน ด้วยกัน ก็คือเราๆท่านๆ ที่กำลังนั่งอ่าน blog
อยู่นี่แหละค่ะ นึกๆแล้วเหมือนครอบครัวหนึ่งนะคะ ที่ต้องมีพ่อ เป็นผู้นำ มีแม่มีลูก ถึงจะเรียกได้ว่า
เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ เราเองพอถึงเวลาที่ใครบางแผนกไม่มาทำงานมันเหมือน
อะไรก็ติดขัดไปเสียหมด เหมือนแม่ไม่อยู่บ้านแล้วไม่มีใครทำกับข้าวให้กิน อะไรประมาณนี้
แล้วมันจะรู้สึกหวิวๆกันบ้างมั้ย ไม่มีคนคอยให้คำตอบหรือช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่าง
จริงๆแล้ว เราแทบจะขาดใครคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้เลยนะ ลองนึกดูดีๆซิคะ
ร่ายมาซะยาวเลย จริงๆแล้ววันนี้ตั้งใจจะเขียน Teem signature นะเนี่ย
ว่าจะเขียนถึงความสำคัญและหลักในการสร้าง Brand ซะหน่อย มาต่อกันเลยนะคะ
อ่านจากในหนังสือ Brand signature (สนใจยืมได้ที่พี่ปูค่ะ แต่ต้องให้หนูอ่านจบก่อนนะ เพิ่งอ่านไปไม่กี่หน้าเอง555+)

ว่ากันในเรื่องหัวใจของการสร้าง Brand
มีหลักในการคิดอยู่ 5 ประการด้วยกัน (เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะเป็นเจ้าของกิจการในอนาคตค่ะ)
1.ชื่อ (Name)
นำเสนอความหมายในชื่อนั้น และหาวิธีให้ชื่อนั้นเป็นที่จดจำ คือต้องจำง่าย และสามารถสื่อสารแบรนด์นั้นๆได้อย่างถูกต้อง เช่น K-Bank หมายถึง ธนาคารกสิกรไทย, SCB หมายถึง ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น
อย่าง Teem Studio Design หรือ TSD ชื่อบ่งบอกว่าเป็นบริษัทออกแบบ และยังเรียกชื่อย่อได้จากอักษรตัวหน้าของชื่อเต็มอีกด้วย
2.โลโก้/สัญลักษณ์ (Logo/Symbol)
ไม่มีหลักที่แน่นอนตายตัว ปัจจุบันสามารถยื่ดหยุ่นได้ แต่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องนำโลโก้มาจัดวางในสื่อต่างๆไม่ให้ดูขาดๆเกินๆ เช่น โลโก้บางแบรนด์ถูกวางลงบนหัวกระดาษจดหมายแล้วดูดี แต่กลับดูขาดๆเกินๆ เมื่ออยู่บนลังกระดาษ เป็นต้น ส่วนโลโก้ของเราถูกพัฒนามาจากของเดิม ผสมผสานกับของใหม่ อย่างรูปตัว t สีแดง ถูกนำมารวมกับตัวอักษรชื่อบริษัท ดูเรียบง่ายและลูกค้าจะจดจำเราได้จากโลโก้ตัว t
3.สี (Color)
เรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคแห่ง Branding by Color สีสันมีส่วนช่วยให้แบรนด์โดดเด่น เป็นที่จดจำ สามารถสื่อสารถึงอารมณ์ เรื่องราวได้ และเป็นส่วนช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนาสื่ออื่นๆอีกด้วย อย่าง Website สิ่งพิมพ์ ฯลฯ สีของเราเป็นสีที่เรียบง่ายอย่างขาว,แดง,ดำ เป็นสีพื้นที่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ ยกตัวอย่างสติ๊กเกอร์ที่ข้างรถฟอร์ดและดีแมกซ์ ลองสังเกตดูสิคะ ว่าบนรถดีแมกซ์คำว่า Teem studio จะเป็นสีขาว
ในขณะที่รถฟอร์ดเป็นสีดำ
4.ประเทศ/แหล่กำเนิดของแบรนด์
เป็นปัจจัยส่งเสริมแบรนด์ให้น่าเชื่อถือได้ ในฐานะที่ส่งอิทธิพลทางใจ และความรู้สึกฝังใจของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ เช่น เชื่อว่าน้ำหอมที่ดีที่สุดต้องมาจากฝรั่งเศส เป็นต้น ข้อนี้ไม่มีความเห็นเกี่ยวกับแบรนด์ของเราค่ะ
5.ตัวตน/บุคลิก (Personality)
เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบคู่แข่งและสำหรับผู้บริโภคใช้อ้างอิง ในยามที่ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่สะท้อนบุคลิกที่เหมาะกับตัวเอง เช่น เมื่อ Teem Signature ถูกกำหนดให้มีบุคลิกแบบคนรุ่นใหม่ คิดนอกกรอบ ไม่ซ้ำซากจำเจ มีความสนุกสนานขี้เล่น แต่ยังตรงไปตรงมาและนอบน้อม ทุกอย่างล้วนแล้วแต่แสดงออกจากปรัชญาการทำงานของเรา,CP2S3 มากมาย ที่เราเฝ้าวางรากฐานทางความคิดที่ดีเรื่อยมา และทุกท่านคงจะรู้กันอยู่แล้ว
เชื่อว่าชาว TSD ทุกท่านคงจะสนุกที่จะได้พัฒนาความคิดไปพร้อมๆกันนะคะ
ขอบคุณค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น