วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออกแบบบ้านให้สวย...ด้วยศิลปะหลายแขนง


ออกแบบบ้านให้สวย...ด้วยศิลปะหลายแขนง
โดย : รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์
Share |
เมื่อพูดถึงในงานออกแบบตกแต่งภายในบ้านเรา มีอยู่สไตล์หนึ่งซึ่งแม้กระทั่งนักออกแบบหรือมัณฑนากรแทบไม่ค่อยรู้จัก หรือมักนำมาใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายในบ้านเรา และเท่าที่ทราบก็ยังไม่ค่อยมีท่านใดนำมาประยุกต์ใช้
อาจเนื่องด้วยรายละเอียดของงานและการประดิดประดอยทำได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยช่างปั้นบัวที่เก่งฉกาจมากจึงจะออกมาได้สวยงาม สไตล์ที่กล่าวถึงนี้มีชื่อเรียกว่า โรโคโค ที่อยู่ในช่วงราวพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และเทียบเคียงได้กับสมัยอยุธยาเลยทีเดียว นับเป็นยุคทองของฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศในแถบยุโรปหันมาตกแต่งโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพระราชวัง ปราสาท และคฤหาสน์ต่างๆ เราลองมาทำความรู้จักคุ้นเคยกับสไตล์ที่ว่ากันสักเล็กน้อยด้วยการย่อยข้อมูล และประวัติความเป็นมา ลักษณะเครื่องเรือนและการตกแต่ง ซึ่งเชื่อว่าอาจมีใครสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านของท่าน ศิลปะโรโกโก ROCOCO ประวัติทั่วไป ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของยุโรป กล่าวคือ คำว่า “Rococo” นี้มาจากคำว่า “Rocille” (Shell Shape) ซึ่งเป็นลายแม่บท (Motif) ที่นิยมกันมากในการตกแต่งประดับประดาของบาโรค และเมื่อคำว่า “Rocaille” นี้มาผสมกับคำว่า “Baroco” ในภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า “Baroque” เลยกลายเป็นคำว่า “Rococo” คำนี้เริ่มใช้โดยนักประวัติศาสตร์ประมาณปี ค.ศ.1730-1840 เพื่อเรียกช่วง (Phase) สุดท้ายของบาโรคในระยะเวลาประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1720 ถึง 1770/80 กว่าๆ กล่าวคือ จนถูกนีโอคลาสสิคซิสม์ลบล้างลง และคำนี้ใช้กับงานศิลปะทุกแขนงรวมทั้งสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง แม้ว่าคำว่า “Rococo” นี้จะเริ่มต้นมาจากมัฑนศิลป์ (Decortive Arts) ก่อนก็ตามและ “Rococo Style” บางครั้งก็เรียกว่า “Style of Louis XV” อันเป็นการสะท้อนถึงรสนิยมในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1715- ค.ศ. 1774) รูปทรง (Form) ที่อวบอิ่มและค่อนข้างหนักของบาโรค เริ่มเปลี่ยนเป็นรูปทรงตรงโปร่งบางเบาและงดงามโปร่งบาง (Elegant) รูปทรงแบบตัวเลข (S) ยิ่งผอมสูงยิ่งขึ้น และการประดับประดาลวดลายต่าง ๆ จะได้รับการออกแบบโดยใช้รูปทรงหลายประเภทผสมกันที่ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย กิ่งไม้ ก้อนหิน เป็นต้น รวมทั้งรูปทรงที่สะท้อนถึงความสนุกสนานบันเทิงใจอันเป็นลักษณะของสมัยนั้น รูปแบบโรโคโคนี้เป็นรูปแบบของการประดับประดา (Ornamental Style) ที่บางเบาผิวเผินบนพื้นผิวมากกว่าที่เป็นชิ้นเป็นอันเหมือนงอกออกมาจากส่วน ต่าง ๆ ของอาคารแบบบาโรค ในทางสถาปัตยกรรมรูปแบบบาโรคที่แสดงออกถึงอารมณ์ ซึ่งมีการิโน การินิ (ค.ศ.1625-ค.ศ.1667) เป็นต้นกำเนิดถูกแปรเปลี่ยนไปตามรสนิยมของชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะเมื่อมาผสมผสานกับระบบการตกแต่งประดับประดาของฝรั่งเศสในสมัยพระ เจ้าหลุยส์ที่ 15 คือ โรโคโค เมืองเวียนนา ในประเทศออสเตรีย และภายใต้ของประเทศเยอรมันเป็นผู้นำในสถาปัตยกรรมโรโคโค นอกเหนือจากฝรั่งเศสผู้เป็นต้นตำหรับ ซึ่งจะเห็นได้จากการนำเอางานจิตรกรรม ประติมากรรมมัณฑนศิลป์สาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกันกับสถาปัตยกรรมจนเกิดผลรวมทั้งหมดที่หรูหราวิจิตรพิสดารและมี ชีวิตชีวา ในผลงานสถาปัตยกรรมของสถาปนิกโรโคโคพวกนี้โดยทั่วๆ ไปเราจะสังเกตได้ว่ามีการจัดแปลนที่ประสานกลมกลืนกับบริบทโดยรอบ เช่น สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ถนนหนทาง เป็นต้น และการออกแบบแปลนและรูปด้านที่ประสานกลมกลืนกัน ในระยะแรกความสำคัญของศิลปะโรโคโคอยู่ที่การตกแต่งและการประดิษฐ์ลวดลาย ประดับอาคารและอื่นๆ โดยได้รับอิทธิพลศิลปะบาโรกของอิตาลี ซึ่งเข้ามาพร้อมกับการสร้างพระราชวังแวร์ซาย ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ช่างชาวฝรั่งเศสได้ดัดแปลงความละเอียด ความโอ่อ่าหรูหราตลอดจนเส้นและรูปทรงที่โค้งฉวัดเฉวียน แต่ยังคงความแข็งแรง แน่นทึบของมวลปริมาตรอยู่ ให้มาเป็นความนุ่มนวล อ่อนหวาน บอบบางมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะปรากฏให้เห็นทั้งงานวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ ROCOCO PERIOD 1730-1760 สมัยของระยะพระเจ้าหลุยส์ที่15 (1723-1774) เป็นระยะเวลาที่ศิลปะและการตกแต่งทำกันอย่างประหยัดลงขนาดของห้องและลักษณะ ของเครื่องเรือนเล็กลงและการตกแต่งมีความเว้าโค้งอ่อนไหวมาก สีที่ใช้ก็อ่อนๆนุ่มนวล มีลักษณะของสตรีเพศแฝงอยู่ตัดลักษณะเสาของสถาปัตยกรรมโบราณออกและมีอิทธิพล ของทางตะวันออกมากขึ้น การตกแต่งสมัยโรโคโคนี้เป็นที่เข้าใจว่าหลุยส์ที่ 15 ให้ความสำคัญในการตกแต่งภายในมากกว่าสถาปัตยกรรม คำว่า ROCOCO คือคำว่าที่รวมความหมายในภาษฝรั่งเศส ระหว่างคำว่า ROCAILLE ซึ่งหมายถึง หิน คำที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ และคำว่า COQUILLE ซึ่งหมายถึง หอย ฝาหอย จึงทำให้ลวดลาย หลักที่ใช้ในสมัยนี้มีลายฝาหอยเป็นสำคัญ การออกแบบในสมัยนี้ยึดหลักความเหมาะสม ความสะดวกสบายด้านการใช้สอยของมนุษย์เป็นหลักสำคัญห้องต่างๆมีขนาดเล็กลงและ เพิ่มการแบ่งสัดส่วนของเนื้อที่ให้ได้รับประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการต่างๆ เช่น ส่วนที่เป็นกลางซึ่งใช้รวมกันและส่วนที่เป็นบริเวณส่วนตัวโดยเฉพาะ มีการจัดห้องรับรองสำหรับใช้ฤดูหนาวและฤดูร้อน ห้องสมุดส่วนพระองค์ ห้องนั่งเล่น ห้องพักผ่อน ห้องเล่นเกม ห้องดื่มกาแฟ ห้องดนตรี ห้องนอนและห้องแต่งตัว ซึ่งทุกอย่างเหมือนการจัดที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยกเว้นห้องน้ำ มีส่วนลับเฉพาะสำหรับส่วนตัวจริงๆซึ่งซ่อนอยู่หลังตู้เสื้อผ้า โดยต้องเข้าทางตู้เสื้อผ้าหรือเจาะช่องเข้าทางผนังห้องซึ่งตกแต่งไว้ แต่ไม่เน้นเป็นประตู การตกแต่งแบบโรคโคโค ซึ่งมีการใช้เส้นโค้งเว้าอย่างอิสระ (CURVILINER) นั้นแสดงออกให้เห็นลักษณะลวดลายซึ่งเลื้อยไหลในส่วนลายละเอียดมีลักษณะของ เปลวไฟ ลักษณะของห้องดู มีเสน่ห์ การตกแต่งผนังส่วนใหญ่เป็นไม้ ระหว่างช่วงที่ผนังชนเพดานมีเพียงบัวประกอบมุมเท่านั้น ลดช่วงขนาดของการตกแต่งผนังให้เล็กลง ส่วนบนและส่วนล่างของกรอบที่ใช้ตกแต่งผนังเป็นไม้แกะลายเส้นเหมือนขอบริม ฝีปากของผู้หญิงหรือเป็นเส้นโค้งเว้าต่อเนื่องกัน ตามมุมกรอบที่ตกแต่งผนังมีลักษณะสี่เหลียมผืนผ้าตามแนวตั้งเพื่อประกอบความ สูงของห้อง ไม่มีการใช้กรอบลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสเลย ในผนังด้านหนึ่งมีการแบ่งเป็นกรอบเล็กกรอบใหญ่ประกอบกันไป รวมทั้งผนังที่ตรงข้ามกัน มีการประกอบลวดลายและเดินเส้นทองเขียนตกแต่งช่วงกลางกรอบด้วยลายเครือ เถาวัลย์สีนุ่มนวล ส่วนที่อยู่อาศัยทั่วไปก็เพียงแต่ทาสีเท่านั้น ในบางห้องใช้ไม้โอ๊คสีธรรมชาติลงขี้ผึ้งขัดเนื้อไม้เป็นพื้น และในบางห้องก็ทาสีอ่อนๆ เช่นสี ชมพู เขียวอ่อน เหลืองอ่อน เป็นต้น ในระยะนี้มีการห้อยผ้าทอเป็นภาพตกแต่งผนังซึ่งเป็นส่วนที่เด่นของห้องหรือ ที่ประหยัดกว่าก็ใช้ผ้าไหมเขียนภาพห้อยตกแต่งผนังแทน ส่วนที่ใช้ในการตกแต่งผนังอย่างอื่นก็มี เช่น กระจกเงา เชิงเทียน เตาผิงทำด้วยหินอ่อน ชั้นขอบเหนือเตาผิงมีลักษณะโค้งเว้า ลักษณะนี้รวมไปถึงด้านหน้าที่เป็นช่องใส่ฟืนด้วย ช่วงเหนือเตาผิงตกแต่งด้วย ไม้แกะสลัก กระจกเงา หรือภาพเขียน ส่วนผนังด้านตรงข้ามรวมไปถึงด้านหน้าที่เป็นช่องใส่ฟืนด้วย เหนือโต๊ะคอนโซลตกแต่งด้วยกระจกเงาเพื่อสะท้อนแสงสว่างจากโคมระย้าที่ ห้อยอยู่ตรงกลางห้อง หน้าเตาผิงมีแผ่นเหล็กตกแต่งด้วยลวดลายทองแบบโรคโคโคเพื่อบังแสง ลูกไฟและกระจายความร้อน ลวดลายที่อยู่บนผ้าที่ใช้ในการตกแต่งมีขนาดเล็กลง มีลายรูป ริ้วแถบผ้า ช่อดอกไม้ ลายฝาหอย ประกอบกับลวดลายโค้ง เว้า กลมกลืนกับความโค้งของเส้นรอบบัวที่ตกแต่งผนังและมีการใช้ผ้าฝ้ายพิมพ์ลวด ลายกลุ่มใหญ่โดยใช้สีแดง น้ำเงิน เขียวและสีไข่ไก่ ลงบนผ้าพื้นสีขาว หน้าต่างห้อยม่านสีอ่อนๆ พื้นไม้ปาร์เก้สี่เหลี่ยมผืนผ้าสลับสีด้วยไม้ต่างชนิดกัน ส่วนที่เป็นห้องโถงส่วนกลางปูพื้นด้วยแผ่นหินอ่อนสี่เหลี่ยม แล้วปูด้วยพรมชนิดหนาลวดลายโรคโคโค สีนุ่มนวล ศิลปโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 15" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิคและบาโรค สไตล์โรโคโคเริ่มขึ้นจากงานมัณฑนศิลป์และศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้ง และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (R?gence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งาน สำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (Fran?ois Boucher) ศิลปโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric) ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศ เยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปบาโรคแบบเยอรมนีได้ เป็นอย่างดี ศิลปโรโคโคแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่ เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโคโคฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง พอถึงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและใต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโคโคที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิล และ ซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสเคนี และ โรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรค โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิคซิสม์ (Classicism ซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยม สถาปัตยกรรมแบบโกธิค ("สมัยฟื้นฟูกอธิค" (Gothic Revival)) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ครับอ่านแล้วค่อนข้างจะหนักไปทางประวัติศาสตร์บ้างพอสมควร แต่ก็เชื่อว่าบางท่านสนใจและเป็นความหลากหลายที่ได้ความรู้ติดตัวไปบ้างจาก คอลัมน์นี้ นอกเหนือไปจากตกแต่งเท่านั้นครับ
เข้าชม : 3451 ครั้ง
ที่มา : รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น