วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ห้องน้ำ

ศิลปะการออกแบบบ้าน
9 ไอเดียเล็กๆ ห้องน้ำสร้างแรงบันดาลใจ
โดย : Vida
Share |
ห้องน้ำเมื่อมีการใช้งานจริงแล้ว มักมีเรื่องกระจุกกระจิกเพิ่มเข้ามาทีละอย่างสองอย่าง แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ทำให้การใช้

งานไม่สะดวก ดูเกะกะไม่เป็นที่เป็นทาง จนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้ ลองดูทั้ง 9 ไอเดียดังต่อไปนี้ว่าตรงกับห้องน้ำของคุณบ้างไหม

“เครื่องชั่งน้ำหนัก เอาไว้ไหนดี”
เครื่อง ชั่งน้ำหนักนี่ละ ถ้าวางเกะๆกะๆในห้องน้ำจะดูเหมือนเป็นส่วนเกินของห้องไปเลย ที่ทางที่เหมาะๆควรจะเป็นพื้นที่เรียบและแห้ง เช่น บริเวณใต้เคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า หรือถ้าบ้านไหนไม่มีเคาน์เตอร์ ลองหาโต๊ะเตี้ยๆที่มีขนาดกว้างพอเหมาะไว้วางของกระจุกกระจิก ส่วนข้างใต้โต๊ะก็สอดเจ้าเครื่องนี้เก็บเข้าไป เท่านี้ห้องน้ำของคุณก็เคลียร์แล้ว

“ตะกร้าผ้า…เกะกะจริงๆ”
ตะกร้า ผ้าไม่จำเป็นต้องไปนอนนิ่งอยู่ในห้องน้ำ เลือกทำตู้บิลท์อินสำหรับเก็บผ้าเตรียมซักไว้หน้าห้องน้ำจะคุ้มกว่าต้องก้ม เก็บและเลื่อนตะกร้าไปมาทุกวัน ตู้ที่ว่านี้ออกแบบให้มีลิ้นชักกว้างเป็นพิเศษ สูงประมาณ 40 เซนติเมตร และลึก 50 – 60 เซนติเมตร อาจแยกเป็นชั้นตามจำนวนสมาชิกในบ้าน หรือแยกเป็นชั้นผ้าสีกับผ้าขาวก็ได้ ถ้าด้านบนยังเหลือพื้นที่ ก็ทำเป็นตู้สูงเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเพิ่มได้อีกนะ ไอเดียนี้ทั้งดูสวยสบายตาและใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าจริงๆ

“แย่แล้ว…จะเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดไว้ไหนดีล่ะ”
ถึง อย่างไรห้องน้ำก็หนีไม่พ้นต้องพึ่งอุปกรณ์ทำความสะอาด ทั้งแปรงขัดพื้น แปรงขัดชักโครก น้ำยาล้างห้องน้ำ และไม้ถูพื้น ห้องน้ำสวยๆต้องมาหมดท่าก็เพราะอุปกรณ์ทุกอย่างมามะรุมมะตุ้มวางบ้างตาก บ้างอยู่ในนี้ ฉะนั้น ถ้าจะให้เวิร์คสุดๆ ควรออกแบบให้มีตู้หรือห้องเก็บอุปกรณ์พวกนี้ไว้บ้างในห้องน้ำตั้งแต่เริ่ม สร้าง แต่ถ้าห้องน้ำเล็กเสียจนไม่มีที่อีกแล้ว การติดชั้นวางตะแกรงโปร่งในส่วนเปียก หรือหาที่แขวนสวยๆ ประมาณตากไปโชว์ไป แห้งแล้วค่อยเก็บ ก็โอเคอยู่นะคะ

“ลืม...ติดปลั๊กมีฝาครอบในห้องน้ำ”
ถ้า คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องเป่าผมหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องน้ำ อย่าลืมติดปลั๊กไฟแบบมีฝาครอบและต้องเดินสายดินด้วยทุกครั้ง โดยติดตั้งให้สูงพ้นจากอ่างล้างหน้าขึ้นมาประมาณ 30 เซนติเมตร หรือติดบนผนังด้านข้างอ่างแทนก็ยิ่งดี อ้อ...เดี๋ยวนี้ปลั๊กไฟก็มีดีไซน์สวยๆเยอะเลย ลองเลือกรูปแบบที่ชอบและเข้ากับห้องดูค่ะ

“อากาศไม่ระบาย ติดพัดลมดูดเพิ่มดีไหม”
ห้อง น้ำที่ดีควรมีช่องแสงและหน้าต่างระบายอากาศอย่างเพียงพอ เพื่อให้ส่วนเปียกแห้งเร็วขึ้น ไม่ก่อปัญหาเรื่องกลิ่นอับและเชื้อรา แต่หากห้องน้ำที่บ้านอยู่ในมุมอับทึบ มีช่องแสงน้อย และไม่มีที่ระบายอากาศ ควรติดพัดลมดูดอากาศ 1 – 2 ตำแหน่ง คือเหนือส่วนชักโครก และเหนือส่วนอาบน้ำ ช่วยให้อากาศถ่ายเทดีขึ้น ส่วนจะเลือกแบบติดผนังหรือฝ้าเพดานก็แล้วแต่พื้นที่ ถ้าติดบนฝ้า ควรเผื่อพื้นที่เหนือเพดานไว้อย่างน้อยประมาณ 20 เซนติเมตร

“แย่แล้ว...ยาสีฟันหมดพอดี”
ของ ใช้ประจำวัน เช่น ยาสีฟัน ทิชชู่ สบู่ และแชมพู ควรมีเก็บตุนไว้บ้าง เผื่อกรณีหมดกะทันหัน โดยหาที่เก็บแห้งๆหยิบได้สะดวก เช่น พื้นที่ภายในตู้เคาน์เตอร์ หรือออกแบบชั้นวางเพิ่มเติม ด้วยการยึดแผ่นไม้หรือตะแกรงเหล็กเข้ากับผนัง แค่นี้ก็หมดปัญหา

“พลาด...แต่งหน้าในห้องน้ำภายใต้แสงสลัว”
ถ้า เคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าคือส่วนแต่งตัวของสาวๆ ต้องระวังเรื่องแสงไฟให้ดี เพราะแสงที่สลัวๆจะดูหลอกตา แต่งหน้าทีไรเข้มเป็นงิ้วทุกที หลีกเลี่ยงการใช้หลอดไฟออกสีส้มๆประเภทวอร์มไวท์โดยเด็ดขาด แนะให้ใช้หลอดไฟแสงสีขาว เช่น คูลไวท์หรือเดย์ไลต์ ติดรอบๆกระจกเงา หรือจะซ่อนไฟให้แสงเรืองไม่แยงตา ก็ช่วยให้มองเห็นสีของเครื่องสำอางชัดเจน หรือถ้าเป็นไฟดาวน์ไลต์บนฝ้าเพดาน เลือกติดให้ตำแหน่งโคมไฟเบี่ยงไปทางด้านหลัง เพื่อลดแสงตรงๆที่ทำให้เกิดเงาบนใบหน้า

“ตากผ้าขนหนู...ยังไงก็ไม่แห้ง”
ผ้า ขนหนูเปียกหมาดๆ ตากในห้องน้ำที่ชื้นและอับ ยังไงก็ไม่แห้งแน่นอน การแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่การทำห้องน้ำ โดยควรแบ่งโซนเปียก-แห้งให้ชัดเจน ส่วนที่ต่อเนื่องกับภายนอกก็ออกแบบเป็นระเบียงเอ๊าต์ดอร์สำหรับตากผ้า กั้นด้วยบานเลื่อนกระจกฝ้าหรือบานเกล็ดไม้ ก่อนเข้าสู่ส่วนอาบน้ำ ถ้าห้องน้ำมีพื้นที่น้อย หาราวแขวนสเตนเลสกว้างๆสัก 90 เซนติเมตร ยึดเข้ากับผนังส่วนแห้งแทน รับรองผ้าแห้งหายห่วง

“ใช้น้ำอุ่นหลายจุด เปลี่ยนเป็นเครื่องทำน้ำร้อนดีกว่า”
หน้า ตาของเครื่องทำน้ำร้อนก็คล้ายๆเครื่องทำน้ำอุ่นนั่นแหละ แต่ราคาจะแพงกว่าหน่อยและมีกำลังวัตต์มากกว่า เหมาะสำหรับบ้านที่ใช้งานน้ำอุ่นในหลายจุด โดยควรติดตั้งตัวเครื่องและเบรกเกอร์ในที่แห้ง เช่น ผนังด้านหลังชาวเวอร์ หรือซ่อนในตู้เคาน์เตอร์อ่างล้างมือ แล้วต่อเฉพาะท่อน้ำร้อนให้ใกล้กับก๊อกน้ำให้มากที่สุด (ควรเป็นก๊อกน้ำผสมที่ทนแรงดัน) ที่สำคัญอย่าลืมเดินสายดินต่อเข้ากับแท่งเหล็กทองแดงยาว 1.50 เมตร แล้วตอกลงดิน เพื่อป้องกันไฟรั่วระหว่างใช้งาน





เข้าชม : 145 ครั้ง
ที่มา : Vida

1 ความคิดเห็น: