วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

รู้จักแผ่นดินไหว(มหันตภัยเงียบ)

แผ่นดินไหวคืออะไร

เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ได้เป็นบริเวณกว้าง เชื่อกันว่าทุกประเทศได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจุบันพบว่ามีความพยายามอย่างมากในหลายประเทศ ซึ่งได้รับอันตรายจากแผ่นดินไหว ศึกษา และทำความเข้าใจถึงกลไกของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหว และทำนายเหตุการณ์ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด? ที่ไหน? ขนาดเท่าใด? แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่มีผู้ใดสามารถ พยากรณ์แผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญภัยแผ่นดินไหว คือการเตรียมพร้อมที่ดี แต่ละประเทศควรมีมาตรการในการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนต่าง ๆ ให้ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อประชาชน ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของความเสี่ยงภัย ออกกฎหมายให้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแผนการจัดการที่ดี หากเกิดความเสียหายร้ายแรงหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิประเทศ จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวต่ำ แต่เพื่อความไม่ประมาท กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมมาตรการข้างต้นโดยมีภารกิจในการตรวจวัดแผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นประจำ ตลอดจนวางแผนจัดตั้งโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสาธารณชนได้

แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน

วัน เดือน ปี

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว

3 มีนาคม 2528

ประเทศชิลี ขนาด 7.8 ริคเตอร์ คนตาย 146 คน

19-21 กันยายน 2528

ประเทศแม็กซิโก ขนาด 8.1 ริคเตอร์ คนตาย 4,000 คน

5-6 มีนาคม 2530

ประเทศเอกวาเดอร์ ขนาด 7.3 ริคเตอร์ คนตาย 4,000 คน

20 สิงหาคม 2531

พรมแดนอินเดีย-เนปาล ขนาด 6.4 ริคเตอร์ คนตาย 721 คน
บาดเจ็บ 6,553 คน

6 พฤศจิกายน 2531

พรมแดนจีน-พม่า ขนาด 7.3 ริคเตอร์ คนตาย 1,000 คน ไร้ที่อยู่ 27,000 คน

7 ธันวาคม 2531

พรมแดนตุรกี-รัสเซีย ขนาด 6.2 ริคเตอร์ คนตาย 25,000 คน บาดเจ็บ 19,000 คน
ไร้ที่อยู่ 500,000 คน

22 มกราคม 2532

ประเทศรัสเซีย ขนาด 5.3 ริคเตอร์ คนตาย 274 คน

1 สิงหาคม 2532

ที่ไอเรียน ขนาด 6.0 ริคเตอร์ คนตาย 90 คน

17 ตุลาคม 2532

อ่าวซานฟรานซิสโก ขนาด 6.9 ริคเตอร์ คนตาย 62 คน

30 พฤษภาคม 2533

ประเทศเปรู ขนาด 5.5 ริคเตอร์ คนตาย 135 คน

20 มิถุนายน 2533

ภาคตะวันตกของประเทศอิหร่าน ขนาด 6.3 ริคเตอร์
คนตาย 40,000 -50,000 คน บาดเจ็บมากกว่า 60,000 คน

16 กรกฎาคม 2533

ประเทศฟิลิปปินส์ ขนาด 7.7 ริคเตอร์ คนตาย 1,000 คน

31 มกราคม 2534

พรมแดนปากีสถาน-อัฟกานีสถาน ขนาด 6.8 ริคเตอร์ คนตาย 300 คน

5 เมษายน 2534

ตอนเหนือประเทศเปรู ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 60 คน

19 ตุลาคม 2534

ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 2,000 คน
บาดเจ็บ 1,800 คน

13 มีนาคม 2535

ประเทศตุรกี ขนาด 6.2 ริคเตอร์ คนตาย 479 คน บาดเจ็บ 2,000 คน

12 ตุลาคม 2535

ประเทศอียิปต์ ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 541 คน บาดเจ็บ 6,500 คน

12 ธันวาคม 2535

ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 6.5 ริคเตอร์ คนตาย 2,500 คน บาดเจ็บ 500 คน

12 กรกฎาคม 2536

ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 365 คน

29 กันยายน 2536

ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.6 ริคเตอร์ คนตาย 9,758 คน บาดเจ็บ 30,000 คน

6 มิถุนายน 2537

ประเทศโคลัมเบีย ขนาด 6.4 ริคเตอร์ คนตาย 295 คน

17 มกราคม 2538

ตอนใต้ของเกาะฮอนชู เมืองโกเบ เกียวโต โอซากา ประเทศ ญี่ปุ่น ขนาด 7.2 ริคเตอร์ คนตาย 5,000 คน บาดเจ็บ 26,000 คน

17 สิงหาคม 2542

ประเทศตุรกี ขนาด 7.8 ริคเตอร์ คนตาย 17,118 คน บาดเจ็บ 50,000 คน
ไร้ที่อยู่อาศัย 600,000 คน

21 กันยายน 2542

เกาะไต้หวัน ขนาด 7.6 ริคเตอร์ คนตาย 2,400 คน บาดเจ็บ 8,000 คน
ไร้ที่อยู่อาศัย 600,000 คน

แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442-2542


เพิ่มเติมข้อมูลแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย(update ถึง 16 ม.ค. 2545)

13 ก.ย.43 บริเวณ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

4 ม.ค.44 จ. เชียงตุง ประเทศพม่า ขนาด 5.0 ริคเตอร์ ขนาด 5.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย

22 ก.พ.44 บริเวณ เขื่อนเขาแหลม อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรีขนาด 4.3 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

2 ก.ค.44 บริเวณพรมแดน ไทย-พม่า ใกล้ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 4.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่

11 พ.ย.44 บริเวณ อ.พาน จ.เชียงรายขนาด 3.7 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.พาน จ.เชียงราย


เพิ่มเติมข้อมูลแผ่นดินไหวโลกที่สำคัญ(update ถึง ธันวาคม 2544)

วัน เดือน ปี

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว

12 พฤศจิกายน 2542

ประเทศตุรกี ขนาด 6.3 ริคเตอร์ คนตาย 834 คน บาดเจ็บ 5,000 คน

4 มิถุนายน 2543

ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 6.8 ริคเตอร์ คนตาย 103 คน บาดเจ็บ 2,174 คน

6 ตุลาคม 2543

ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บาดเจ็บ 130 คน บ้านเรือน เสียหาย 2,334 หลัง

26 พฤศจิกายน 2543

บริเวณ คอเคซัส ประเทศรัสเซีย ขนาด 5.8 ริคเตอร์ ตาย 32 คน บาดเจ็บ 430 คน

14 มกราคม 2544

ประเทศเอลซัลวาดอร์ ขนาด 6.4 ริคเตอร์ ตาย 844 บาดเจ็บ 4,723 คน

26 มกราคม 2544

ประเทศอินเดีย ขนาด 6.4 ริคเตอร์ ตาย 20,085 คน บาดเจ็บ 166,836 คน สิ่งก่อสร้างพัง 339,000 หลัง

13 กุมภาพันธ์ 2544

ประเทศเอลซัลวาดอร์ ขนาด 5.5 ริคเตอร์ ตาย 315 คน บาดเจ็บ 3,399 คน

24 มิถุนายน 2544

ประเทศเปรู ขนาด 6.7 ริคเตอร์ ตาย 75 คน เสียชีวิตจากคลื่นซูนามิ 26 คน บาดเจ็บ 2,687 คน บ้านเรือนเสียหาย กว่า 50,000 หลัง

14 พฤศจิกายน 2544

ประเทศจีน ขนาด 7.8 ริคเตอร์ บ้านเรือนเสียหายบางส่วน

แผ่นดินไหวครั้งล่าสุด

แผ่นดินไหวในเฮติ เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:53:09 ตามเวลาท้องถิ่น [1] ของวันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือตรงกับเวลา 04.53 นาฬิกา ในเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย[2] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)[3] องค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey) ได้ตรวจสอบบันทึกและพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 14 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้กล่าวว่ามีคนกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตกว่า 500,000 คน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถล่มเป็นซากปรักหักพังนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีที่พังถล่มลงมาด้วย

ความเสียหาย

แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารบ้านเรือนพังพินาศจำนวนมาก[4] รวมทั้งทำเนียบประธานาธิบดี, อาคารรัฐสภา, กระทรวงการคลัง, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ, อาคารสถานทูต, โรงเรียน, โรงแรมและโรงพยาบาล ที่พังถล่มลงมาทับผู้คน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เสียหายอย่างหนัก โดยนายปัน กีมุน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "แผ่นดินไหวที่เฮติถือเป็นหายนะครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่องค์กรนานาชาติเคยประสบมา"[5]

[แก้] จำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต

200,000 คน

4 ความคิดเห็น:

  1. โห!! สาระล้วนๆอ่ะ ดีนะที่ไม่มีประเทศไทย

    ตอบลบ
  2. สาระดีนะ..ขาดแค่ปัจจัยนะ ช่วยๆๆกันบริจาคกดี

    ตอบลบ
  3. เออ สาระ ล้วน ขี้เกียจอ่านว่ะพี่ ยาวโคตร แต่ สาระ ดี

    ตอบลบ
  4. 555 เรียกว่าสาระยาว มากกกก555

    ตอบลบ