วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554



การคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
หมายถึง การคิดแบบเชื่อมโยง (associative) คิดแบบยั่วยุ (provocative) ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เป็นการคิดที่ไม่ยึดติดกรอบของการคิดแบบเหตุและผล อันเป็นการคิดแบบเส้นตรงการคิดเป็นเส้นตรง (linear thinking) เป็นการวิเคราะห์ เป็นการหาเหตุหาผล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่เรียกกันว่าหลักตรรกะการคิดสร้างสรรค์ ชอบกระบวนการ (process) ขณะที่การคิดแบบเส้นตรงพยายามแต่จะให้ถึงเป้าหมายและหยุดกระบวนการ การคิดสร้างสรรค์พบว่าเป้าหมายมิได้อยู่ข้างหน้า แต่กำลังไปถึงทุกขณะที่กำลังก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น ความเป็นจริงนั้นกำลังก่อตัวทุกขณะการคิดเป็นเส้นตรงมักจะมีเป้าหมายเดียวที่คัดเลือกแล้ว การคิดแบบสร้างสรรค์สร้างความคิดมากมายแล้วเอาไว้คัดเลือกทีหลัง การคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีทางเลือกมากมาย จำเป็นต้องใช้ปริมาณมากเพื่อให้สามารถเลือกสรรได้ปกติเรามักจะถูกสอนให้คิดถึงเรื่องต่างๆ ต่อเมื่อเราได้พบคำตอบที่เกือบจะลงตัวแล้ว (กึ่งสำเร็จรูป ) เราทำการค้นหาต่อเพียงเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสม แล้วก็หยุดการค้นหา นี่คือการคิดแบบเส้นตรงแต่ถ้าเราค้นหาไปเรื่อยๆ เราจะพบคำตอบมากมายที่อาจดีกว่าอีก ที่เราสามารถเลือกได้ดีกว่าด้วย นี่คือการคิดสร้างสรรค์ที่ชอบกระบวนการในการค้นหาทางออก มากกว่าการพบแค่ทางออกเดียวที่เหมาะสม เนื่องเพราะกระบวนการเป็นเรื่องสำคัญมากในการคิดสร้างสรรค์ บางครั้งก็มักเรียกกันว่า กระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า การคิดเส้นตรงนั้นไม่ดี เป็นการคิดที่ดีและจำเป็นในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เพียงพอและไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้เพื่อเสริมการคิดแบบเส้นตรง การคิดแบบตรรกะ แต่ต้องมีการฝึกฝนการคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมให้คนถามมากกว่าตอบ เพราะการถามเป็นการทำให้เกิดคำตอบมากมายหลากหลาย การคิดสร้างสรรค์ทำให้คนคิดมากกว่าจำ การคิดสร้างสรรค์ทำให้คนไม่แสวงหาแต่สูตรสำเร็จ แสวงหาแต่เทคนิควิธีการ แต่แสวงหาหลักการเพื่อให้วิธีการที่หลากหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น