พื้นออนบีม
เล่าเรื่องพื้นๆ คราวนี้จะเล่าเรื่องพื้นสำหรับใช้ในการออกแบบโครงสร้างว่าควรเลือกใช้ยังไง เช่น พื้นคอนกรีตออนบีม ออนกราวน์ พื้นสำเร็จ พื้นโพส ฯลฯ คงมี ผู้ออกแบบหลายคน สงสัยว่าการก่อสร้างอาคารๆนึง มีพื้นให้เลือกตั้งหลายแบบ แต่ละแบบเป็นยังไงและควรเลือกใช้ยังไงวันนี้จะเล่าคร่าวๆ ให้ฟังครับเพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และเพื่อความประหยัดครับ
พื้นเป็นโครงสร้างที่สำคัญมีหลายแบบหลายวัสดุ ผมจะขอแยกประเภทไว้คร่าวๆดังนี้ แล้วจะเล่าที่ละอันให้ฟังครับ
1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่
1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม
1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์
1. พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ก็ตามชื่อที่บอกแหละครับ คือพื้นที่หล่อเอง ทำแบบหล่อเอง วางเหล็กเทปูนเอง ไม่ได้หล่อจากที่อื่นแลล้วยกมาวาง ผมขอแยกเป็น 3 แบบละกันนะครับ
1.1 พื้นคอนกรีตออนบีม น่าจะเป็นพื้นที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะช่างไทยคุ้นเคย และมีประสบการณ์ในการทำพื้นมาแทบจะเรียกได้ว่าหลับตาทำก็ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วครับว่า ออนบีม มันก็แปลอยู่แล้วว่าวางอยู่บนคาน คือมีการถ่ายน้ำหนักจากพื้นไปสู่คาน โดยอาจแบ่งวิธีการถ่ายน้ำหนักของพื้นได้สองแบบ คือ พื้นทางเดียว กับพื้นสองทาง ทีนี้ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าป็นพื้นทางเดียวหรือพื้น สองทาง ตอบคือ วิธีการตรวจสอบ ถ้าเอาความยาวของพื้นด้านสั้นไปหาร ความยาวของพื้นด้านยาว แล้วได้ค่ามากกว่า 0.5 แล้วแสดงว่า เป็นพื้นสองทาง
น้ำหนักของพื้นและน้ำหนักที่อยู่บนพื้นจะถ่ายไปยังคานตามลูกศรชี้คือในกรณีของพื้นสองทาง น้ำหนักของพื้นในพื้นที่สีน้ำเงินจะถูกไปยังคานสีน้ำเงิน พื้นสีเขียวจะถูกถ่ายไปยังคานสีเขียว ส่วนพื้นสองทางการถ่ายน้ำหนักจะแบ่งครึ่งกันไปยังคานแต่ละฝั่งเท่าๆกันครับ
ข้อดีของพื้นออนบีมคือ ข้อแรก พื้นจะไม่ทรุดเหมือนพื้นออนกราวน์ครับเพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นจะไปอยู่บนคานและคานจะถ่ายน้ำหนักไปยังเสาอีกที แต่พื้นออนกราวน์นั้น อยู่ในสมมุติฐานว่าน้ำหนักทั้งหมด ถ่ายไปยังดินโดยตรงไม่ได้วางบนคาน ข้อดีอีกข้อหนึ่งของพื้นออนบีม คือ ในกรณีที่ใช้เป็นพื้นชั้น 2 จะไม่มีปัญหารั่วซึมของน้ำครับ เห็นได้ว่า แบบบ้านทั่วๆไปที่เป็นพื้นสำเร็จรูปวาง วิศวกรจะหลีกเลี่ยงการวางพื้นสำเร็จบนพื้นห้องน้ำ และพื้นระเบียงเพื่อป้องกันปัญหาการรั้วซึมของน้ำ แต่ขอย้ำไว้หน่อยนะครับ คุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตเป็นวัสดุที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ครับ ดังนั้น การป้องกันการรั่วซึมจะสามารถกันได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์
สำหรับข้อควรรู้อีกข้อหนึ่งสำหรับพื้นคอนกรีตออนบีมอีกเรื่องหนึ่งคือ ระยะเวลาการถอดค้ำยันของพื้นครับ เพราะว่าการที่คอนกรีตจะรับกำลังได้เต็ม 100 % นั้นคือ ระยะเวลา 28 วัน ดังนั้นเวลาการที่จะสามารถถอดค้ำยันได้อย่างน้อยๆคือ 14 วันครับ เพราะเป็นระยะเวลาที่คอนกรีตพื้นสามารถรับกำลังได้แล้วเกิน 70% แต่ก็ต้องค้ำยันด้วยเสาไม้ไว้เป็นช่วงๆคือ ทำเป็นไม้ป็อบค้ำไว้ จนกว่าจะครบ 28 วันคอนกรีตจึงจะสามารถรับน้ำหนักไว้เต็มที่ ดังนั้น ในการเลือกที่จะใช้คอนกรีตออนบีม เรื่องที่ควรพิจารณาคือ แผนการก่อสร้างครับ คือสมมุติว่าพื้นที่เทคอนกรีตออนบีมไว้นั้นเป้นพื้นที่ไม่ได้อยู่ชั้นล่าง อาจอยู่ชั้นสอง ชั้นสาม จำเป็นต้องรอเวลาถึง 14 วันหลังเทคอนกรีตจึงจะสามารถถอดแบบหล่อคอนกรีตด้านล่างได้ ดังนั้นในช่วงเวลาการรอ 14 วันช่างจะไม่สามารถทำงานก่ออิฐหรืองานอื่นๆได้เลย ทำให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ จึงอยากหลีกเลี่ยงพื้นออนบีม ไปใช้พื้นสำเร็จกัน อีกอย่างคือเรื่องต้นทุนของการวางพื้นสำเร็จ ก็อาจถูกกว่าเมื่อเทียบกับ พื้นหล่อกับที่ ในเรื่องของไม้แบบ และเรื่องของ ระยะเวลาการก่อสร้าง
1.2 พื้นคอนกรีตออนกราวน์ การที่จะเลือกใช้พื้นคอนกรีตออนกราวน์นี้ จะใช้ในกรณีเป็นพื้นชั้นล่างเท่านั้น เพราะชื่อมันบอกว่าออนกราวน์ มันก็ต้องอยู่ข้างล่างจริงมั๊ย
โดยทั่วไปการที่เลือกใช้เป็นพื้นออนก ราวน์ เหตุผลคือ ประหยัดครับ เพราะการถ่ายน้ำหนักของพื้นออนกราวน์ที่ว่าเป็นการถ่ายน้ำหนักไปยังดินโดย ตรง สามารถลดน้ำหนักที่กระทำไปยังคานและเสาได้ ทำให้สามารถลดขนาดของคาน ขนาดของเสาลงไปได้ และไหนจะตัวพื้นเองที่เสริมเหล็กน้อย ความหนาก็ไม่มาก
ดังนั้นพื้นออนกราวน์ที่อยู่ได้ คือ การบดอัดของดินที่อยู่ใต้พื้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดครับ (สำคัญกว่าตัวพื้นเองด้วยซ้ำ)เพราะถ้าหากดินหรือทรายที่อยู่ใต้พื้นคอนกรีต ออนกราวน์นั้นทรุด คอนกรีตก็จะเกิดการแตกร้าวได้อย่างไม่ต้องสงสัย อีกเรื่องที่อยากจะบอกคือ เรื่องเหล็กเสริมในพื้นออนกราวน์นั้นจะเป็นเพียงแค่ เหล็กเสริมกันร้าวเนื่องจากอุณหภูมิเท่านั้น ไม่ได้เป็นเหล็กเสริมที่จะออกแบบไว้สำหรับกำลังโดยตรง ดังนั้น เหล็กเสริมที่จะใช้อาจเป็นเพียงเหล็ก 6 มิล วางเป็นตะแกรง 25 เซนติเมตร ,20 เซนติเมตร หรือเป็นเหล็ก wire mesh 4 มิล หรืออาจจะเป็นเพียงแค่ไม้ไผ่ผ่าซีกก็ได้ ข้อควรระวังอีกเรื่องของพื้นคอนกรีตออนกราวน์ที่ควรรู้คือเรื่องรอยต่อ ระหว่างพื้นกับคานครับ ควรที่จะต้องเป็นรอยต่อที่แยกกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ของโครงสร้างครับ ดูรูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น