วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีจัดลำดับงานแบบ work work

อ่านมาจาก web หนึ่ง ในเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญของงาน มีการอธิบายและบอกวิธีฝึกฝนง่ายๆไว้ด้วย
ช่วยให้ชีวิตการทำงานเป็นระบบระเบียบขึ้นเยอะเลย ลองทำดูนะคะ
หลายคนชอบบอกว่า งานยุ่ง งานเยอะ งานล้นมือตลอดเวลา ทำให้ทำงานไม่ค่อยทัน ไม่รู้จะทำงานไหนก่อนดี ด่วนทุกงานเลย ถ้ามาคิดดูดีๆแล้ว ถ้าสมมติว่าเรามีงานอยู่ 100 อย่าง จะมีงานสำคัญๆอยู่ 20% ที่ทำแล้วให้ผลลัพธ์ถึง 80% ที่เหลือเป็นงาน 80% ที่แม้ทำเสร็จแล้วก็ให้ผลเพียง 20% เท่านั้น

ดังนั้น นี่เป็นเพียงเหตุผลสำคัญเล็กๆ ที่ทำให้เราต้องมาจัดลำดับความสำคัญในการทำงานกัน บ่อยครังที่มักจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่วันนี้จะมาอธิบายถึงหลักการ และวิธีเริ่มต้นง่ายๆให้อ่านกัน

ก่อนอื่นต้องเริ่มด้วยการแยกประเภทงานก่อน มี 4 ประเภท ดังนี้ค่ะ
(A)งานสำคัญและเร่งด่วน คือ งานที่ฝากใครทำไม่ได้ ต้องทำเองทันที เร่งด่วน รอช้าไม่ได้ และต้องสำเร็จด้วย
(B)งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน คือ งานที่ฝากใครทำไม่ได้ ต้องทำเอง แต่ไม่ด่วนมาก ต้องจัดสรรเวลามาทำ และต้องสำเร็จด้วย
(C)งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน คือ งานที่ฝากคนอื่นทำได้ แต่ต้องทำทันที ไม่ควรช้า เช่น จ่ายค่าไฟ ถ้าไม่จ่ายจะถูกตัดไฟ เป็นต้น
(D)งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน คือ งานที่ฝากใครทำก็ได้ ถ้าว่างจริงๆแล้วจะทำ งานอย่างนี้ ถ้าจัดดีๆ อาจจะถูกผลัดไปได้ และบางครั้งกลับมาดูอีกครั้ง ก็ไม่สำคัญว่าจะเสร็จ หรือไม่ก็ไม่เสียหายอะไร

นอกจากเรื่องการแบ่งประเภทงานแล้ว ยังใช้หลักนี้ในการแบ่งเกณฑ์ของกลุ่มคนที่มอบหมายงานได้ด้วย ต้องมาวิเคราะห์ว่าถ้าคนๆนั้นต่อต้านเรา
จะเกิดปัญหากับชีวิตเราหรือไม่ (ความสัมพันธ์กับคนในองค์กรก็สำคัญ) ถ้ามี ต้องระบุความสำคัญในจุดนี้ไว้หน้าหัวข้องานของเราด้วย
จากนั้นเราก็มาบันทึกงานและจัดลำดับความสำคัญในตารางกันเถอะ
ทำง่ายๆในโปรแกรม exel ก็ได้ แบ่งเป็นช่องๆ 8 ช่อง โดยแต่ละช่องมีหัวข้อดังนี้ค่ะ1.To do (เราต้องทำอะไรบ้าง)

2.Minor (จำนวนของคนที่มีอิทธิพลต่อความสำคัญของงานนี้)
3.Priority (ลำดับความสำคัญ ก่อน-หลัง)
4.Done (สำเร็จแล้วหรือยัง)
ส่วนนี้เป็นส่วนสรุปแล้วค่ะ
5.Legend (คำอธิบาย A-D)
6.เขียนลงในช่อง (งานสำคัญและเร่งด่วน...ฯลฯ)
7.จำนวนของงานตามที่ได้แยกประเภท
การจัดตารางงานแบบนี้อาจจะดูยุ่งยากในช่วงแรกๆ ที่ต้องมานั่งนึกว่าเรามีงานอะไรบ้าง
แต่พอทำจนชินแล้ว เราจะกลายเป็นคนที่มีระเบียบแบบแผนในการทำงานชึ้นเยอะเลยค่ะ
ผู้เขียนก็จะลองทำดูเหมือนกัน (ได้หรือไม่เดี๋ยวมาดูผลอีกที ^_^)
ปล.อย่าลืมว่าพฤติกรรมใดก็ตามที่เราทำติดต่อกันมา 21 วัน มันจะกลายเป็นนิสัย
แต่ก็ขอให้เลือกทำแต่สิ่งๆดีๆแล้วกันนะคะ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

11 การทำงานแบบคนไทยในสายตาของชาวต่างชาติ (ที่น่าคิด)

บทความนี้ได้มาจาก forward mail ของพี่ท่านหนึ่ง พออ่านแล้วรู้สึกสะอึกเหมือนกันนะเนี่ย แบบว่าต้องโดนกันสักข้อหนึ่งแหละ เลยอยากเอามาให้อ่านกันค่ะ
ร่วมแชร์ความคิดเห็นได้ที่นี่ ใครมีความเห็นอย่างไร มาคุยกันได้ค่ะ
ขอขอบคุณ ทุกความเห็นที่จะมีส่วนพัฒนาการทำงานของเราให้ดี และเข้าใจกันยิ่งๆขึ้นไป
ขอบคุณค่ะ ^_^

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

KAIZEN (ไคเซ็น... ก็ใครหละจะเซ็นต์ ถ้าเราไม่ยอมเซ็นต์)

เพื่อนๆเคยได้ยิน ไคเซ็นไหม

ไคเซ็นคืออะไร เหมือนกับ เค็นไซ หรือปล่าว??

ไคเซน คือแนวคิดในการบริหารงานเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (มาจากภาษาญี่ปุ่นหมายถึง การแยกสิ่งต่างๆออกจากกันแล้วประกอบเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เป็นนัยว่าการพัฒนาในทุกๆจุดที่ถึงแม้จะเป็นจุดเล็กน้อยก็ตาม เมื่อรวมกันแล้วก็จะมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้)


แล้วจะพัฒนาอย่างไรหละ


แม้แต่ของใช้ประจำบ้านง่ายๆก็พัฒนาได้เช่นกัน


แม้แต่งานตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ำก็นำแนวคิดนี้มาใช้ได้นะ


มีตัวอย่างอีกมากมาย (มีเพื่อนส่งFWรูปมาให้เมื่อสัปดาห์ก่อนพอดี thanks หลายๆ)



นวัตกรรมที่มีคุณค่า สร้างได้ง่ายๆ ด้วยแนวคิดที่แสนจะธรรมดา ขอเพียงตั้งใจที่จะทำ

ฝึกสมองไว้นะ อย่างให้มันตันละกัน


วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ลูกค้า...ภาคต่อ(ยอด)

บทความดีๆจากพี่ปู ที่ได้เคยกล่าวถึงลูกค้าในบล็อกของเรา เมื่อพ.ค. (ถ้ายังจำกันได้) วันนี้พี่ปูฝากมานำเสนอภาคต่อยอด ของเรื่อง " ลูกค้า " จากหนังสือ " เส้นสายสู้ปลายฝัน " ของท่านอาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ในทัศนะของพี่ปูฝากมาถึงชาว " ธีม " ค่ะ
ในมุมมองของผม จะจำแนกประเภทของลูกค้า ตามลักษณะของเนื้อหางานหลัก ดังนี้
1.ลูกค้าประเภทงานบ้านหรือคอนโดมิเนียม
2.ลูกค้าประเภท commercial space
3.ลูกค้าประเภทงาน booth หรือจัดงาน event

สำหรับวันนี้ขอนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับลูกค้าในประเภทที่ 1 ก่อนเป็นอันดับแรก
ถ้าจะให้พูดกันตรงๆ ลูกค้าประเภทนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของเราเลยทีเดียว เพราะเป็นพื้นฐานของจุดเริ่มต้นในการทำงานออกแบบและงานตกแต่งภายใน ซึ่งท่านเหล่านั้น ก็จะมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันไป
คุณน้ำทิพย์กับพี่ปู ที่กำลังวัด site และคุยกับลูกค้าไปพร้อมๆกัน
ร่วมปรึกษากันในเรื่องงานออกแบบกับคุณสมพร ที่ pool villa
ตามแต่การอยู่อาศัยของเจ้าของ แต่ส่วนใหญ่ที่จะคล้ายกันก็คือ การกำหนดงบประมาณในการออกแบบตกแต่ง ซึ่งบางท่านก็อาจจะบอกในขั้นต้น แต่บางท่านก็อาจจะบอกไม่ได้ เพราะก็ยังไม่รู้ว่าแท้จริงตนต้องการอะไร, แค่ไหน นั่นเป็นโจทย์ของดีไซน์เนอร์ที่จะต้องพยายามอ่านใจ ช่างสังเกต จดจำบุคลิก การพูด ท่าทาง และความต้องการลูกค้าจากคำบอกเล่าให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการออกแบบต่อไป
นอกจากการกำหนดงบประมาณแล้ว ถ้าเป็นงานบ้านที่ต้องการความเห็นจากทุกๆคนในครอบครัว " ตรงนี้หล่ะครับ " ดีไซน์เนอร์อาจจะมึนกันได้เลยทีเดียว !! เพราะแต่ละคนก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ดีไซน์เนอร์จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการจดจำความต้องการของแต่ละท่าน และต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรอง และแนะนำกับลูกค้าได้ ถ้าความต้องการนั้นๆทำได้ยาก หรือเป็นดีไซน์ที่เข้ากันไม่ได้ หรือสิ่งนั้นไม่มีประโยชน์เพียงพอกับงบประมาณที่ได้ให้มา ซึ่งก็อาจจะทำให้ลูกค้าถอยออกมาคิดดูและอาจจะทำตามคำแนะนำของเราได้ จะเป็นการควบคุมงบประมาณให้ลูกค้าไปในตัวด้วย
คุณวาสนากำลังบอกเล่าความต้องการแก่ดีไซน์เนอร์อย่างเมามันส์...
คุณหมีปรึกษาพี่ปูที่บ้านชวนชื่น
ในด้านของสไตล์งานนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วลูกค้าก็อยากได้ความสมัยใหม่ ตาม trend ซึ่งเราเองก็เลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ที่จะต้องตามกระแสบ้าง ตามวิชาชีพในเรื่องของ trend งานออกแบบ ลูกค้าบางท่านทำการบ้านมาเป็นอย่างดี หอบหนังสือมาเป็นตั้ง (หรืออาจจะมี sketch เล็กๆมาด้วย....สุดยอด) แถมยังกำหนดงบประมาณมาให้แล้วเสร็จอีกต่างหาก ท่านเหล่านี้ล้วนแต่มีความใส่ใจในรายละเอียดค่อนข้างสูง ทั้งในเรื่องงานออกแบบ และความเนี๊ยบในงานผลิตติดตั้ง แต่ลูกค้าบางท่านอาจจะไม่ได้คิดอะไรมาล่วงหน้าเลย บอกเพียงแต่ว่า " ชอบโมเดิร์น เอาแบบโมเดิร์น ? " หรือประมาณว่า " เอาแบบเท่ห์ เท่ห์...ทำยังไงก็ได้ให้ดูเท่ห์ ! " แบบนี้ดีไซน์เนอร์ต้องตีโจทย์ให้แตก และต้องควบคุมงบประมาณไว้ในใจด้วยหล่ะ
พี่ปูกับพี่แบงค์พร้อมคุณศิริชัย ตรวจงานกันที่บ้านลัดดารมย์
ที่บ้านมัณฑนากับคุณสมพงษ์ ตอนปรึกษาเรื่องบ่อเลี้ยงปลาคาร์พ
คุณนุช และพี่ปูคุยกันที่ site แบบลุยๆ
คุณศุภชัย ในอิริยาบทสบายๆกับผู้รับเหมาสร้างบ้าน
คุณอุ้ย ที่บอกความต้องการ แบบว่า " เอาประมาณนี้ "
ในเรื่องของการจบงานหรือการย้ายเข้าอยู่ส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้างานบ้านก็มักจะมี " time frame " ของตนเองอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของงาน, ขนาดพื้นที่โดยมากก็จะประมาณ 1-3 เดือน แต่ก็มีบ้างที่ไม่ได้ตั้งเงื่อนเวลาเอาไว้ เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ทั้งนี้ทางเราเองก็อาจจะต้องกำหนดเงื่อนของเวลาให้ลูกค้าได้ เพราะเป็นการใส่ใจในการให้บริการของธีมงานเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าอยู่อาศัยได้อย่างรวดเร็ว บนพื้นฐานของงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
คุณใหญ่ที่ลุมพินีคอนโด ชัดเจนตรงประเด็น ทั้งงบประมาณและความต้องการ
คุณเอี้ยง ปรึกษาเรื่องสไตล์และแปลน ที่สตาร์เอสเตท พระราม 3
คุณแอน กับงานปรับปรุงบ้านในวันที่ไปรับ brief
อย่างไรก็ดีก็ต้องขอขอบพระคุณลูกค้าในประเภทงานบ้านทุกท่าน ที่ให้โอกาสเราได้ให้บริการ ได้สร้างงานศิลปะสำหรับการอยู่อาศัยให้ทุกๆท่านได้พักผ่อนอย่างมีความสุข
และอย่าลืมติดตาม เรื่องลูกค้าในประเภทงานอื่นๆต่อนะคะ ^_^
ขอบคุณค่ะ

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

โอม...จงหายโกรธ!!

ไม่ได้มาร่ายมนต์ หรือเสกหนังควายเข้าท้องใครนะ
แต่พอได้อ่านบทความบทนี้แล้ว รู้สึกปลงอย่างบอกไม่ถูก
ลองอ่านดูนะ ใช้ประโยชน์ได้จริง คลายความโกรธได้ชะงัดนักแล
มนต์คลายโกรธ
ถ้าพูดไป เขาไม่รู้ อย่าดุเขา ว่าโง่เง่า งมเงอะ เซอะหนักหนา
ตัวเรา ทำไม ไม่โกรธา ว่าพูดจา ให้เขา ไม่เข้าใจ
โทษผู้อื่น แลเห็น เป็นภูเขา โทษของเรา แลไม่เห็น เท่าเส้นผม
ตดคนอื่น เหม็นเบื่อ เราเหลือทน ตดของตน ถึงเหม็น ไม่เป็นไร
จะหาใคร เหมาะใจ ที่ไหนเล่า ตัวของเรา ยังไม่ เหมาะใจหนา
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ล่วงหน้า เสียก่อน ไม่ร้อนใจ
แม้ชื่อว่า โกรธเขา แต่เราร้อน เดินนั่งนอน ร้อนในอก แทบหมกไหม้
แล้วยังดื้อ ถือโทษ โกรธทำไม ได้อะไร เป็นประโยชน์ โปรดตรองดู
เรื่องข้องจิต ผิดมา แต่ครั้งก่อน จะคิดย้อน ให้ร้อนใจ ทำไมหนา
คนชอบเอา เรื่องเก่า มาเผาอุรา ช่างเซ่อซ่า ฉลาดน้อย ด้อยEQ.
อ่านแล้วเฮฮา พาเพลินเจริญใจ...นำไปใช้ได้จริง 555+

วิธีตักบาตรที่ถูกต้อง_อ่านแล้วขำมากมาย

เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยทำบุญตักบาตรกันมาทั้งนั้น แต่มีใครเคยทราบบ้างมั้ยคะว่า ที่เราปฎิบัติกันอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่ วันนี้เลยนำบทความดีๆและขำๆ ขอย้ำว่าขำและได้ประโยชน์ด้วย ในเรื่องการตักบาตรมาลงไว้ให้อ่านกันค่ะ
1. นิมนต์พระ
หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา
การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่
ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี
รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน
การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ" ( ใช้คำไฮโซมาก)
มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์ " ( เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)
การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ

โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย
ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ
อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง " ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face
โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์
หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ
2. จบ
อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ
การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน
การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป
เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า " โยมขออะไรเราน้า ?"
3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า
จริงๆแล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่งมีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น
บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" ( สูงกว่าเดิมอีก)
บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น ( หนักกว่าเก่า)
เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า
พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควร ถอดรองเท้าใส่บาตร นะ"
โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร
อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล ( เรื่องขำขันขณะฉันเพล)
พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่
4. ใส่บาตร
อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า
บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร
พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป
พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ
ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ
นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า
เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี
ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป
เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"
กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า
แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" ( อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)
คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)
ขั้นตอนต่อไปคือ
5. รับพร
หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม ( ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป
การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้
ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆ
ตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะค่ะ พี่น้อง